ครม.ประกาศวันหยุดยาวช่วงน้ำหนุนสูง 21 จังหวัด

ครม.ประกาศวันหยุดยาวช่วงน้ำหนุนสูง
ครม.ประกาศวันหยุดยาวช่วงน้ำหนุนสูง

คณะรัฐมนตรี ประกาศให้วันที่ 27,28,31 ต.ค.54 เป็นวันหยุดราชการ ในพื้นที่ 21 จังหวัด และ กทม. เพื่อบรรเทาปัญหาให้กับประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (25 ต.ค.2554) มีมติอนุมัติให้ประกาศวันหยุดราชการในวันที่ 27-28 และ 31 ต.ค.54 ในพื้นที่ 21 จังหวัด รวมทั้ง กทม. ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณน้ำที่จะเข้าสู่หลาย พื้นที่ในกรุงเทพฯ หลังคาดการณ์ว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงในวันที่ 26 ต.ค. และไปสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค. แต่ในส่วนของเจ้าหน้าที่ ศปภ. ยังคงปฎิบัติงานทุกวัน

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าก่อนหน้านี้ เสนอให้วันที่ 26 เป็นวันหยุดด้วย แต่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นว่าหากให้หยุดในวันดังกล่าว เกรงว่าจะเกิดปัญหาในการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม ดังนั้นก่อนจะหยุดจึงควรเตรียมความพร้อมให้เรียบร้อยก่อน อีกทั้งหากให้หยุดยาว เกรงว่าในส่วนของธนาคาร สถาบันการเงิน จะมีปัญหา เพราะกฎหมายห้ามหยุดติดต่อเกิน 5 วัน

สำหรับ 21 จังหวัดที่ประกาศให้หยุดราชการ ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม  พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา อ่างทอง นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร ปทุมธานี นนทบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ ตาก และ กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ที่ประชุมคณะ รัฐมนตรียังมีมติเห็นชอบให้ย้าย นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ไปเป็นผู้ตรวจราชการ และให้ นายจขรศักดิ์ สิงโตสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี

รวมทั้งยังเห็นด้วยที่จะให้ เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วย แต่จะเป็นช่วงเวลาหลังการประชุมงบประมาณเสร็จสิ้นแล้ว โดยการประชุมงบประมาณประจำปี 2555 จะเริ่มในวันที่ 2, 3 พ.ย.2554 ที่จะถึงนี้
http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/46592/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87.html

น้ำท่วมประเทศไทย

ได้ภาพจาก http://www.thaiflood.com หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.pm.go.th/flood/

น้ำท่วม
น้ำท่วม

สภ.สรุป 21 จว.ยับน้ำท่วม พื้นที่เกษตรเสียหายแล้ว 1.8 แสนไร่ 8 จังหวัดยังระทมทุกข์ ลุ้นหากฝนไม่ตกซ้ำสถานการณ์อาจเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้ เตือนอีก 6 จว.เสี่ยงท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม ธอส.ลดดอกเบี้ยช่วยเหยื่อ จัดโครงการลดภาระหนี้ ปลูกสร้าง และซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ทั้งให้กู้ใหม่และกู้เพิ่ม

นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 22 กันยายน ว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 21 จังหวัด 102 อำเภอ 525 ตำบล 3,637 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 10 ราย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 272,612 ครัวเรือน คิดเป็น 714,719 คน มีบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง เสียหายบางส่วน 1,887 หลัง สะพานเสียหาย 25 แห่ง ถนนชำรุด 659 สาย พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 188,835 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 28,566,971 บาท พื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายลงแล้วมี 13 จังหวัด ได้แก่ จ.เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ตาก นครสวรรค์ นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิจิตร และแม่ฮ่องสอน ขณะที่ จ.พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น อุบลราชธานี และจันทบุรี ยังมีสถานการณ์อุทกภัยอยู่ คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่ม สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้ ยกเว้น จ.ลพบุรี ที่สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งกรมได้ประสานจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ถือเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ จังหวัดที่ประสบอุทกภัยให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนและทั่วถึง โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านปัจจัยสี่ อาหาร น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลและเส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด

สำหรับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วนั้น ได้เร่งให้สำรวจความเสียหาย เพื่อเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ซึ่งอยู่ในอำนาจอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัด 50 ล้านบาท รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมที่ ชำรุดเสียหายให้สามารถกลับมาใช้การได้โดยเร็วที่สุด การดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประสบภัย ตลอดจนเร่งสำรวจความเสียหายของพื้นที่การเกษตร เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือต่อไป สำหรับจังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยก็ให้จัดเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร แจ้งเตือนเหตุดินถล่ม อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และทีมกู้ชีพกู้ภัยประจำตำบล ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และเตรียมพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน หากเกิดสถานการณ์ภัยให้รีบแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เตรียมการอพยพได้ทัน

นายอนุชากล่าวว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกกระจายและตกหนักบางแห่งใน ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน ปภ.จึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งที่ลาดเชิงเขาและที่ราบ ลุ่มริมแม่น้ำในบริเวณ 6 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศ และประกาศแจ้งเตือนภัยจากหน่วยงานภาครัฐอย่างใกล้ชิด ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มซ้ำอีก

ขณะที่นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการ ผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธนาคารจัดทำ “โครงการเงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ ปลูกสร้าง และซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัยปี 2551” โดยลูกหนี้เดิมลดอัตราดอกเบี้ยใน 3 เดือนแรก เหลือเพียง 0% เดือนที่ 4-6 คิดอัตราดอกเบี้ย 1% และให้ผู้กู้ผ่อนชำระเงินงวดเฉพาะดอกเบี้ย ส่วนเดือนที่ 7-36 คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเอ็มอาร์อาร์- 2.00% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์- 0.50% ต่อปี

ส่วนกรณีกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย ลดอัตราดอกเบี้ยให้โดยในปีแรก เดือนที่ 1-3 คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี เดือนที่ 4-12 คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเอ็มอาร์อาร์-3.00% ต่อปี ปีที่ 2-3 คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเอ็มอาร์อาร์-2.00% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเอ็มอาร์อาร์-0.50 % ต่อปี ตลอดอายุสัญญา สำหรับลูกค้ากู้ใหม่ธนาคารลดอัตราดอกเบี้ยให้ในปีแรกเท่ากับ เอ็มอาร์อาร์-3.00% ต่อปี ปีที่ 2-3 คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์-2.00% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเอ็มอาร์อาร์-0.50% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา โดยธนาคารให้กู้ได้สูงสุด 100% ของราคาประเมินค่าก่อสร้างหรือซ่อม แซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย

นายขรรค์กล่าวว่า กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง ธนาคารจะลดภาระหนี้ในส่วนของอาคารให้ทั้งหมด โดยลูกค้าจะรับภาระในการชำระหนี้เงินกู้เฉพาะในส่วนของที่ดินเท่านั้น

นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสถานศึกษาที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม 176 โรงเรียน ใน 14 จังหวัด แบ่งเป็นโรงเรียนที่ต้องปิดเรียนทุกวัน 85 โรง และปิดวันเว้นวันเนื่องจากน้ำขึ้น-ลด 91 โรง จังหวัดที่มีสถานศึกษาได้รับความเสียหายมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ จ.ลพบุรี 73 โรง จ.ชัยภูมิ 24 โรง จ.พระนครศรีอยุธยา 19 โรง จ.ปราจีนบุรี 16 โรง สระบุรี และสุรินทร์ จังหวัดละ 11 โรง ประเมินความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบเงินช่วยเหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 3 แสนบาท พร้อมทั้งประสานกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการจัดสิ่งของเครื่องใช้ให้กับ โรงเรียน และครอบครัวที่ประสบภัย นอกจากนี้ ยังได้แจ้งเขตพื้นที่ฯ ให้ย้ายนักเรียนไปเรียนในโรงเรียนใกล้เคียงที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่วนการสอบอาจจะช้ากว่าโรงเรียนทั่วไป 1-2 สัปดาห์ เพราะต้องรอให้โรงเรียนอื่นสอบเสร็จก่อน จึงจะขอใช้สถานที่ได้

สำหรับพื้นที่ต่างๆ ที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนั้น ที่ จ.ปราจีนบุรี น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีทะลักเข้าเขตเทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี ทั้ง 6 ชุมชน โดยระดับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร นอกจากนี้ ที่หมู่บ้านปากแพรก หมู่ 3 ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี น้ำเอ่อท่วมสูงกว่า 2.50 เมตรเศษโดยชาวบ้านกว่า 300 ครอบครัว ได้รับผลกระทบ

ส่วนที่ จ.ลพบุรี นายจารุพงศ์ พลเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี รับมอบส้วมลอยน้ำจากสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จ.ลพบุรี จำนวน 40 หลัง เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ในพื้นที่ต่างๆ

พื้นที่ จ.พิจิตร เผชิญปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน เมื่อน้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ และผสมกับน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนกว่า 500 ครอบครัว บริเวณหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ต.บ้านบุ่ง อ.เมือง ไร่นารวมทั้งถนนถูกน้ำท่วมขังได้รับความเสียหาย ที่ อ.บางมูลนาก แม่น้ำน่านสมทบน้ำป่าจาก จ.เพชรบูรณ์ ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนหมู่ที่ ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ต.หอไกร กว่า 200 หลัง คาเรือน และไร่นาเสียหายกว่า 2 หมื่นไร่

ขณะที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โปรดเกล้าฯให้ พล.อ.อ.ทรงศักดิ์ ตะวันแจ้ง ผู้อำนวยการกองงานพระวรชายาฯ เป็นผู้แทนพระองค์ นำสิ่งของประทานมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมที่ 4 ตำบล 49 หมู่บ้าน ที่บริเวณวัดมงคลทับคล้อ ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร จำนวน 1,500 ถุง โดยประทานให้กับครอบครัวราษฎรที่ประสบน้ำท่วมในอำเภอทับคล้อ 600 ถุง ในส่วนที่เหลือได้มอบให้กับ นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร นำไปแจกแก่ราษฎรใน อ.บางมูล นาก และ อ.ตะพานหิน