ปิด ip และรายงานประเมินการสอน

6 ก.ย.53 ตรวจแฟ้ม /var/log/messages พบว่ามีความพยายาม login เข้าระบบจำนวนไม่น้อยผ่าน secure shell ที่เปิด port 22 ตัวอย่าง user ที่พยายามสุ่มเข้ามา เช่น frank, richard, sara, robert, steven, amanda จึงเพิ่มคำสั่งเข้าไปใน /etc/sysconfig/iptables ด้วยคำว่า -A OUTPUT -d 10.20.30.40 -j ACCEPT แล้ว #service iptables restart มีผลให้เฉพาะเครื่องเบอร์ 40 เท่านั้นที่ไม่ได้รับบริการใดใด
ต่อจากนั้นก็มีโอกาศหยิบระบบจัดทำรายงานประเมินการเรียนการสอน  ที่รับข้อมูลผ่านระบบ Online แล้วจัดทำรายงานด้วย Microsoft Access  เพื่อให้ได้รายงานผลตรงกับความต้องการของการประกันคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย ที่ต้องการผลประเมินจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา และมีข้อมูลที่นำมาหาค่าเฉลี่ยทั้งปีในลำดับต่อไป

ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์

เว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต

2 เม.ย.53 มีเพื่อนชวนไปเป็นกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์หนึ่ง มีงบจัดจ้าง 133200 บาท แบ่งเป็นค่าบริการออกแบบและจัดทำทั้งหมด 5 รายการ คือ a) เว็บหลัก 36000 b) เว็บสองภาษา 37000 c) โครงการเยส 21000 d) สังคมออนไลน์ 34000 e) เว็บบอร์ด 5200 การเป็นกรรมการครั้งนี้ได้ใบส่งของ (invoice) ซึ่งมีรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วผมก็ลองหยิบมาตรวจตามรายการ  ตรวจ a) เว็บหลัก พบว่า  1) สิ่งที่ยังไม่ทำ 2 หน้า คือ สารจากผู้บริหาร และติดต่อ ส่วนที่พิมพ์ผิดมีหลายหน้า คือ วิสัยทัศน์ เจ้าของ ชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร แผนที่ 2) สินค้า สิ่งที่พบคือ ปัดบรรทัดผิด และผู้บริหารยังไม่ยอมรับเนื้อหาที่ขัดกับคุณภาพขององค์กร เช่น ไม่เช็คชื่อบ้าง 3) รายการระดับไม่ครบ
     ตรวจ b) เว็บสองภาษา พบรายการที่ทำแล้วเพียงกึ่งหนึ่ง ตรวจ c) โครงการเยส พบรายการที่ทำแล้วไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตรวจ d) สังคมออนไลน์ รายการน่าจะครบ แต่มีข้อสังเกตเรื่อง back office ว่าใครได้หรือไม่ ตรวจ e) เว็บบอร์ด เห็นคำว่าปรับปรุง กับคำว่า re-design คนละรายการ .. ที่เล่านี่ก็เป็นประสบการณ์หนึ่งที่อยากจะแบ่งปัน .. ยามตรวจงานเสร็จ

ปรับนิยามเกณฑ์การประเมินบุคลากรนิดหน่อย

21 เม.ย.53 มีโอกาสประเมินเพื่อนร่วมงาน (evaluation) โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลส่งแบบประเมิน ที่ใช้คะแนน 5 ระดับ แบ่งคำถามเป็น 3 กลุ่ม 1) เกี่ยวกับงาน 2 ) เกี่ยวกับลักษณะบุคคล 3 ) ด้านอื่น ผมใช้วิธีส่งเกณฑ์ประเมินให้เพื่อนร่วมงานประเมินตนเองแบบปากเปล่า แล้วส่งผลที่ผมประเมินให้เขาพิจารณาก่อนเซ็นให้ความเห็นชอบ พบว่าเพื่อนร่วมงานทุกคนประเมินตนเองต่ำกว่าที่ผมประเมิน .. วิธีนี้ทำให้ทุกคนยอมรับผลประเมินของผมมากกว่าให้เขารับผลประเมินจากผมด้านเดียว
     ซึ่งสรุปได้ว่ามีคำถามทั้งหมด 20 ข้อรวมเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 1) ความรู้พื้นฐาน หมายถึง ความรู้ในงานตามหน้าที่อย่างครบถ้วน มีความเข้าใจ และทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานลุล่วงสำเร็จตามภารกิจ 2) ความรอบรู้ในภารกิจ หมายถึง ความสามารถในการที่จะทำงานให้สำเร็จ และได้ผลดีที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ 3) การเรียนรู้งาน หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติงานได้ตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง 4) ความตั้งใจ ใส่ใจในการทำงาน หมายถึง การอุทิศตนเอง และทำงานเต็มความสามารถ 5) ความรับผิดชอบ หมายถึง ความใส่ใจในรายละเอียดให้งานบรรลุตามเป้าหมายและกรอบเวลา 6) มีการมาทำงาน สาย หรือขาดงาน ไม่เกิน 10% ของวันทำการ หรือไม่เกิน 3 วัน  7) การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยจะอนุโลมตามหลักการให้คะแนนของข้อ 6 8 ) การประสานงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สื่อสาร ให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ 9) ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความสามารถให้ข้อเสนอแนะ คิดงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม 10) ความไว้วางใจ หมายถึง มีความละเอียด รอบคอบ ตั้งใจ ติดตามงา โดยไม่ต้องถูกควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา 11) การใช้ทรัพยากร หมายถึง ประหยัด มีหลักในการใช้จ่าย และใช้อุปกรณ์สำนักงานเสมือนเป็นของตน 12) การวางแผนจัดระบบงาน หมายถึง ความสามารถวางแผน คาดการณ์ กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ และเป้าหมายได้ชัดเจน 13) การตัดสินใจแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถแก้ปัญหาในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ลุล่วง 14) ทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการพูด เขียน หรือสื่อสารได้ถูกต้องชัดเจน 15) ความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถและมีทักษะนำหน่วยงานให้ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ 16) การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง  ความสนใจแนะนำ พัฒนาศักยภาพของเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ 17) การมีมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 18) นวัตกรรม หมายถึง ความสามารถประยุกต์หรือพัฒนางานแนวใหม่อย่างมีคุณภาพ 19) คุณภาพของงาน หมายถึง ความถูกต้อง ความประณีต ความเรียบร้อย ของการทำงานทันเวลาตามเป้าหมายที่กำหนด 20) ปริมาณงาน หมายถึง ผลงานที่สามารถจะทำได้สำเร็จตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หรือในเวลาที่ควรจะต้องทำ

ทดสอบโปรแกรมจับความเร็วของ while กับ for

2 เม.ย.53 ปรับโปรแกรมจับเวลาการทำงานของโปรเซสด้วยภาษา PHP โดยใช้ Function เพราะต้องการวัดว่าใช้เวลาเท่าใดใน process ที่ต้องการทดสอบ มีการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบในสภาวะที่เชื่อถือได้ ซึ่ง code ชุดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้หลายกรณี แต่ครั้งนี้ทดสอบเพียงแค่การใช้ while และ for สำหรับทำซ้ำ 1000 รอบ พบว่า while ทำงานเร็วกว่า ในระดับ 1ต่อหมื่นวินาที ส่วนการทดสอบกับ mysql ผมยังไม่ได้เตรียมสภาวะแวดล้อมให้พร้อม จึงไม่นำเสนอผลที่นี่ .. ถ้าควบคุมและทดสอบจนได้ผลอย่างไร จะกลับมาเล่าใหม่

<?
$gap=0;
xtime("start");
for($i=1;$i<=1000;$i++) { }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
$j=0;
xtime("start");
while($j < 1000) { $j++; }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
function xtime ($action) {
  global $gap;
  list($u,$s) = split(" ",microtime()); 
  if ($action == "start") $gap = $s + $u; 
      else $gap = $s + $u - $gap;
  return $gap;
}
?>

+ http://www.thaiall.com/php

เกณฑ์สำหรับประเมินความพึงพอใจ

เกณฑ์การให้คะแนน และ เกณฑ์ประเมิน

18 ก.พ.53 มีกลุ่มเพื่อนจัดทำโครงการอบรม แล้วใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจโดยใช้ scale 5 ระดับ หรือที่เรียกว่าวัดเจตคติตามเทคนิคของของลิเคิร์ท (Likert technique) หรือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ทสเกล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดไว้ 2 แบบคือ เกณฑ์การให้คะแนน และเกณฑ์การประเมิน (โดยนำระดับสูงสุดลบระดับต่ำสุดแล้วหารด้วยจำนวนช่วงที่ตั้งไว้) ซึ่งผลการใช้เกณฑ์ทั้งสองมีตัวอย่างการเขียน (อันที่จริงผมพบปัญหาในตัวอย่างนี้ แต่ไม่ได้แก้ไข .. ท่านมองเห็นหรือไม่ .. ผมเพียงแต่ถามนะครับ) ดังนี้ มีการจัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละครั้ง โดยใช้คำถามที่แบ่งระดับความพึงพอใจ ๕ ระดับ มีคำถามจำนวน ๘ คำถาม ดังนี้ ๑) ความเข้าใจก่อนเข้ารับการอบรม  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (X = ๓.๑๖ , S.D = ๑.๑๗)   ๒) ห้องอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๔ , S.D = ๐.๖๕) ๓) วิทยากร ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๔ , S.D = ๐.๖๕)  ๔) หัวข้อการบรรยาย  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๑ , S.D = ๐.๖๐)  ๕) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๓.๘๘ , S.D = ๐.๗๗)  ๖) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๕)  ๗) ความเข้าใจหลังรับการอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X =๔.๓๑, S.D =๐.๖๙) ๘) ภาพรวมของโครงการ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๑) โดยสรุปผลประเมินทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๖ , S.D = ๐.๕๒)
+ http://sunee5.multiply.com/journal/item/2 รวมบทความวิจัย
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Likert_scale
+ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/reliability.htm วิเคราะห์ข้อสอบ

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – ต่ำสุด หารด้วย จำนวนชั้น
Class Interval (ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, 2543,หน้า 30)
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/2680/13REFERENCES.pdf
http://pru3.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/pictures/63/H_711_7586.pdf
http://prezi.com/p9x1rkhj_cej/presentation/

ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) 5 ระดับ โดย เร็นสิส เอ. ลิเคิร์ท (Rensis A. Likert)
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

สมการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis.(2 ed.). New York: Harper and Row.

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ DB

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล
ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล

29 ธ.ค.52 พรุ่งนี้ผมจะปิดเล่มรายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล จึงเลือกบางส่วนมาเล่าสู่ กันฟัง มีการประเมินทั้งหมด ๑๙ ระบบฐานข้อมูล และรายงานนี้เป็นรายงานผลฉบับสุดท้ายของโครงการประเมิน ๓ อย่างเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลในปีการศึกษา ๒๕๕๒ ประกอบด้วย ๑)ประเมินประสิทธิภาพ ๒)ประเมินความปลอดภัย ๓)ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งผลประเมินเป็นไปตามการประกันคุณภาพ และหน่วยงานเข้าของระบบใช้เป็น KPI ของตนได้
     ผลการประเมินความพึงพอใจจำแนกตามประเด็นคำถาม ๖ ประเด็นเรียงจากความพึงพอใจมากไปน้อย พบว่า ๑) ความถูกต้องของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๔) ๒) สารสนเทศมีประโยชน์ และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของท่าน มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๒) ๓) ความทันสมัยของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๗) ๔) สารสนเทศถูกนำมาใช้ตามแผนงานของท่าน ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๕) ๕) ความง่ายในการได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากระบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๒) ๖) มองเห็นความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของข้อมูลกับระบบต่าง ๆ มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=๓.๓๕) โดยภาพรวมของความพึงพอใจต่อทุกระบบอยู่ในระดับมาก (X=๓.๔๖)
     การประเมินครั้งนี้ อ.วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความห่วงใยว่า รายงานผลการประเมินทั้ง ๓ เรื่องที่ปิดรายงานไปจะไม่มีผลในรอบการประเมินตามแผนพัฒนาคุณภาพ ปีพ.ศ.๒๕๕๓ ทำให้ผมได้ทราบความจริงข้อนี้และเป็นผลให้ต้องวางแผนทำโครงการนี้อีกครั้งในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ เพื่อให้เข้ารอบเวลาของคณะวิทย์ และรอบเวลาของการประเมินตามเกณฑ์ของสกอ.ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ซึ่งทุกคณะวิชาจะได้นำรายงานผลไปใช้ในฐานะที่ร่วมเป็นคณะกรรมการทำงานเชิงบูรณาการ ซึ่ง อ.เกศริน อินเพลา ร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุดนี้ ก็คาดว่าท่านจะได้นำเรียนในที่ประชุมคณะในลำดับต่อไป

ชื่นชมคุณธรณินทร์(แบงค์) ผู้สรุปรายงานการประเมินฯ

สรุปผลประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ DB
สรุปผลประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ DB

25 ธ.ค.52 วันนี้มีโอกาสตรวจรายงานประเมินประสิทธิภาพและประเมินความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูลที่ คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ปลุกปล้ำกับระบบฐานข้อมูล 19 ระบบที่มีเจ้าของระบบใน 11 หน่วยงาน และอนุกรรมการอีกมากกว่าสิบท่าน ซึ่งเป็นโครงการที่บูรณาการร่วมกับทุกคณะวิชา โดยผลการประเมินจะถูกอ้างอิงโดยคณะวิชา และมหาวิทยาลัย ที่จะใช้เป็นหลักฐานในตัวบ่งชี้ ๗.๕ ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถ้าไม่ได้คุณแบงค์ช่วยประสานหน่วยงานแบบถึงลูกถึงคนในครั้งนี้ ไม่ได้คุณอนุชิต ยอดใจยา และคุณอรรถชัย เตชะสาย ในฐานะผู้พัฒนาที่มุ่งมั่นทุ่มเทและกระตือรือร้นในการเข้าประเมินหน่วยงาน ถ้าไม่ได้ อ.เกศริน อินเพลา อ.วิเชพ ใจบุญ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น หัวหอกทะลวงฟันเข้าตรวจสอบหลักฐานเอกสารด้วยองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว .. รายงานฉบับแรกนี้คงไม่สำเร็จลงด้วยดี หรืออาจได้รายงานไม่ทันกับการประเมินที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้
      ระบบฐานข้อมูลที่เข้ารับการประเมินครั้งแรกนี้มีจำนวนมาก แต่ถ้ามองตามตัวหนังสือในคู่มือประกันคุณภาพฯ ก็จะพบว่ามีระบบฐานข้อมูลที่ถูกพาดพิงจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) ระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียน 2) ระบบฐานข้อมูลรับชำระเงิน 3) ระบบฐานข้อมูลงบประมาณ 4) ระบบฐานข้อมูลเงินเดือน กลุ่มการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5) ระบบฐานข้อมูลประเมินการสอนออนไลน์ 6) ระบบฐานข้อมูลรายงานผลการเรียนออนไลน์ 7) ระบบฐานข้อมูลอีเลินนิ่ง กลุ่มการวิจัย ประกอบด้วย 8) ระบบฐานข้อมูลวิจัย
     ถ้างานนี้มีความดีความชอบที่จะให้ใครก็ขอให้กับผู้ที่ถูกเอ่ยนามทั้งหมดข้างต้น ยกเว้นผมที่ไม่ควรได้อะไรทั้งสิ้น เพราะผมเป็นเพียงคนที่นั่งบ่นไปวัน ๆ เขียนอะไรเรื่อยเปื่อยไปนาทีต่อนาที ไม่เหมือนคนทำงานข้างต้น ที่มีผลงานในรูปกิจกรรมชัดเจน .. ผมขอยืนยันในบันทึกนี้

ร่างผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล

เกณฑ์ประเมินความพึงพอใจ
เกณฑ์ประเมินความพึงพอใจ

22 ธ.ค.52 จากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลรวม 19 ระบบได้แบบสอบถามจำนวน 410 ชุด (ยังส่งมาไม่ครบ) ซึ่งแต่ละระบบมีจำนวนแบบสอบถามไม่เท่ากันต่างกันไปตามกลุ่มผู้ใช้ของแต่ละระบบ โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ใช้ที่อาจอยู่ในฐานะเป็น 1) ผู้ให้ข้อมูลเข้าสู่ระบบ 2) ผู้มีส่วนประมวลผล หรือ 3) ผู้รับข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจ พบว่าจากคะแนน 5 ระดับ ระบบที่ผู้ใช้มีความพึงพอใจสูงสุด คือ ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์มีความพึงพอใจระดับมาก (3.75) รองลงมาคือ ระบบแฟ้มดิจิทอลในระดับมาก (3.70) ส่วนความพึงพอใจต่ำสุด คือ ระบบฐานข้อมูลจัดซื้ออยู่ในระดับปานกลาง (2.63)
รองลงมาคือระบบฐานข้อมูลโทรศัพท์อยู่ในระดับปานกลาง (2.85)
     หน่วยงานระดับคณะมี 6 คณะวิชา แต่มีผู้บริหารที่ร่วมตอบแบบประเมินความพึงพอใจเพียง 3 คณะวิชา สำหรับความพึงพอใจของผู้บริหารคณะวิชาที่มีความพึงพอใจสูงสุดคือ คณะสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์อยู่ในระดับมาก (4.00) รองลงมาคือคณะนิติศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (3.32)
     หน่วยงานระดับคณะมี 6 คณะวิชา ขณะนี้ส่งแบบประเมินแล้ว 5 คณะวิชา จากผู้ใช้แต่ละคณะที่ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา สำหรับความพึงพอใจในภาพรวมของคณะมีความพึงพอใจสูงสุดคือ คณะบริหารธุรกิจอยู่ในระดับมาก (3.66) รองลงมาคือคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์อยู่ในระดับมาก (3.59)
? ผลการประเมินข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหน่วยงาน และ/หรือคณะวิชาส่งแบบประเมินเพิ่มเติม

ประเมิน effi, secu, sati ไปใกล้เสร็จ .. สังหรว่ามีปัญหา

21 ธ.ค.52 มีการประเมิน 3 ประเภท ขณะนี้เหลือการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ที่เลยเวลาที่หน่วยงานส่งแบบประเมินมาให้ผมแล้ว 4 วัน และผมหาแบบสอบถามของหน่วยงานหนึ่งไม่พบ สังหรใจว่าได้แบบสอบถามไม่ครบร้อยเปอร์เซ็น ทำปีแรกจะพลาดบ้างก็ไม่น่าแปลก เป็นความล้มเหลวอีกครั้งหนึ่งของผม แต่ชีวิตยังไม่สิ้นก็ต้องสู้กันต่อไปและยอมรับความล้มเหลวในครั้งนี้ พรุ่งนี้จะโทรตาม และตามหาเอกสารที่ยังไม่ครบ ส่วนประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยน่าจะจบแล้ว เหลือความพึงพอใจมาเติมรายงานให้ครบการประเมิน 3 ประเภทเท่านั้น
      ร่างบทสรุป : ปีการศึกษานี้เป็นปีแรกที่มหาวิทยาลัยโยนกจัดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนกที่มาจากการตัวแทนคณะวิชา และหน่วยงานเจ้าของระบบฐานข้อมูล รวมกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลในภาพรวม โดยภารกิจหนึ่ง คือ การประเมินประสิทธิภาพและประเมินความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ใน องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 7.5  ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย
     มีระบบฐานข้อมูลที่เข้ารับการประเมินทั้งหมดจำนวน 19 ระบบ ดังนี้  1) ระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียน 2) ระบบฐานข้อมูลรับชำระเงิน 3) ระบบฐานข้อมูลประเมินการสอนออนไลน์  4) ระบบฐานข้อมูลรายงานผลการเรียนออนไลน์ 5) ระบบฐานข้อมูลอีเลินนิ่ง 6) ระบบฐานข้อมูลผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 7) ระบบฐานข้อมูลการจัดการความรู้ 8) ระบบเว็บบอร์ด 9) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง 10) ระบบห้องภาพกิจกรรมโยนก 11) ระบบฐานข้อมูลบุคลากร 12) ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ 13) ระบบฐานข้อมูลบัญชี 14) ระบบฐานข้อมูลบันทึกการใช้โทรศัพท์ 15) ระบบแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ 16) ระบบฐานข้อมูลจัดซื้อ 17) ระบบฐานข้อมูลห้องสมุด 18) ระบบฐานข้อมูลงบประมาณ 19) ระบบฐานข้อมูลเงินเดือน
     ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบฐาน ซึ่งดำเนินการประเมินโดยอนุกรรมการที่รับผิดชอบในแต่ละระบบฐานข้อมูลประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้พัฒนา และตัวแทนคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ซึ่งมีผลการประเมินมีคะแนนเพียง 3 ระดับ พบว่า มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 1 จำนวน 7 ระบบคิดเป็นร้อยละ 36.84  มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 2 จำนวน 6 ระบบคิดเป็นร้อยละ 31.58 และมีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 3 จำนวน 6 ระบบคิดเป็นร้อยละ 31.58   
     ผลการประเมินความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล ซึ่งดำเนินการเช่นเดียวกับการประเมินประสิทธิภาพ และมีคะแนนเพียง 3 ระดับเช่นกัน พบว่า ไม่มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ในระดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 0  มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 2 จำนวน 2 ระบบคิดเป็นร้อยละ 10.53 และมีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 3 จำนวน 17 ระบบคิดเป็นร้อยละ 89.47 
     ระบบและกลไกการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย มีดังนี้ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก 2) คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ ผู้พัฒนา และตัวแทนคณะกรรมการ เป็นคณะอนุกรรมการเข้าประเมินระบบฐานข้อมูลแต่ละระบบ 3) ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลฯ เตรียมความพร้อมในการเข้าประเมิน 4) ผู้พัฒนาประสาน และนัดหมายทุกฝ่าย เพื่อเข้าประเมินกับเจ้าของระบบฐานข้อมูล 5) เข้าประเมินโดยตรวจสอบเอกสารหลักฐานในหน่วยงานเจ้าของระบบฐานข้อมูล 6) ส่งร่างผลการประเมินให้เจ้าของระบบฐานข้อมูลตรวจสอบก่อนจัดทำรายงาน 7) รวบรวมผลการประเมิน และจัดทำสรุปผลการประเมินโดยคณะกรรมการฯ 8) เผยแพร่รายงานผล
? สองภาพนี้สัมพันธ์กันอย่างใรใน creative campus .. ก็ถามตามกระแสครับ