วัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง

กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง คนในบ้าน ในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดโรคภัยเบียดเบียนก่อนวัยอันควร ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน และยาเสพติด ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องทำเฉพาะบ้าน และโรงเรียนเท่านั้น แต่ถ้าเกิดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ของบ้าน วัด และโรงเรียนก็เชื่อได้ว่าจะเสริมพลังที่ทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อสังคมครอบครัวลดลงได้

พบว่า พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง ได้แชร์ภาพที่ท่านได้ัรับ ป้ายวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็น 1 ใน 20 วัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน โดย โครงการการพัฒนาเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก พระเดชพระเดชพระคุณ พระเทพเวที รศ.ดร. เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานมอบป้ายในครั้งนี้

แต่ละวันทานกี่มื้อดี .. น่าคิดนะ

ทานข้าววันละมื้อ มากไปรึเปล่า
ทานข้าววันละมื้อ มากไปรึเปล่า

บางคนก็บอกว่า เราอยู่เพื่อนกิน
บางคนก็บอกว่า เรากินเพื่ออยู่

มนุษย์เรามีหลากหลาย มีเหตุผลแตกต่างกันไป
บางคนทาน 3 มื้อ
บางคนทาน 2 มื้อ
บางคนทาน 1 มื้อ
บางคนบางวันก็ยังไม่ได้ทานอะไรเลย มีเยอะ

ตั้งแต่ต้นปี 2552 ราวนั้น เริ่มงดทานมื้อเที่ยง
เพราะสงสัยว่าร่างกายเราต้องการอาหารมื้อเที่ยงหรือไม่
ก็ค่อย ๆ ลดเรื่อยมาก
ก็ไม่พบปัญหาใดกับการงดมื้อเที่ยง
ไม่ทานข้าวกับเพื่อน กับเพื่อนร่วมงาน ผมก็สั่งกาแฟมาดื่มเป็นเพื่อน
นาน ๆ ก็จะทานด้วยเป็นพิธี เช่น ไปทานข้าวกับคุณแม่

ต่อมาก็สงสัยอีกว่ามื้อเย็นจำเป็นจริง ๆ หรือ
เห็นพระที่เคารพนับถือท่านก็ยังทานมื้อเดียว
ดังนั้นตั้งแต่ 29 มีนาคม 2559 ก็ไม่ทานมื้อเย็น
สรุปว่าทานมื้อเช้ามื้อเดียว
เพราะงดมื้อเที่ยงมาตั้งแต่ปี 2552 ก็ไม่น่ามีปัญหา
ที่บ้านก็ตามใจ

วันนี้ เสาร์ที่ 10 กันยายน 2559 มีประชุมที่ พมจ. ครึ่งวัน
แต่ผมตั้งใจไม่ทานข้าวเลย เพราะคิดว่า 7 วัน ทานสัก 6 วันน่าจะพอ
แต่ไม่งดน้ำนะครับ ต้องระลึกเสมอว่าต้องทานน้ำ
เช้ามาก็ทานกาแฟเลย 1 แก้ว บ่ายดื่มชาไป 1 ขวดทานเบรกที่เค้าแจกไปหน่อย
เพราะเป็นวันแรกที่ไม่ทานข้าว

แต่เวลาทานอาหารเช้า
ผมก็ยังคงหาความสำราญจากการรับประทานสิ่งมีชีวิตเหมือนเดิม
ไม่ต่างกับใคร ๆ หรืออะไรหรอกครับ .. ยังเหมือนเดิม
http://www.thaiall.com/blog/burin/7306/

น้ำดอกอันชัน

น้ำดอกอัญชันตากแห่งต้ม ผสมกับน้ำผึ้งผสมมะนาว
น้ำดอกอัญชันตากแห่งต้ม ผสมกับน้ำผึ้งผสมมะนาว

8 ส.ค. 57 คุณเรณู อินทะวงศ์ ให้ดอกอัญชันตากแห้งมา 1 กำมือใหญ่ ๆ
ตอนไปงานวันคล้ายเกิด อ.สุวรรณ ตรีมานะพันธุ์ อดีตหัวหน้าและอาจารย์ของพวกเรา
ที่ร้านของคุณปรีชา ธรรมเมือง ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโยนก

น้ำอัญชันที่ร้านอาหาร
น้ำอัญชันที่ร้านอาหาร

แล้วเด็กที่บ้านก็หยิบดอกอัญชัญตากแห่งใส่ลงไปในหม้อทั้งหมด
จึงได้น้ำดอกอัญชันมา 1 หม้อ แบบไม่เติมน้ำตาล
ตั้งใจเก็บไว้ดื่มหลาย ๆ วัน วันนี้ชงดื่มโดยผสมกับน้ำผึ้งผสมมะนาว
ก็เป็นรสชาติที่ถูกปาก แล้วผมก็หยิบกล้องมาถ่ายภาพแนว selfie
ที่เกือบไปทาง usie แล้ว แต่คนในภาพไม่ยอมมาเข้ากล้อง

กรณีศึกษา เรื่อง อ่านหนังสือออกแล้วนี่

อ่านหนังสือ
อ่านหนังสือ

6 ม.ค.54 กรณีศึกษา เรื่อง อ่านหนังสือออกแล้วนี่
ดร.อ : ถามว่า .. คนที่หมู่บ้านคุณทราบไหมว่า ไฟแดงคือหยุด ไฟเขียวคือไป
ผม : ก็ตอบไปว่า .. คงรู้
ดร.อ : ถามว่า .. เขาจะรู้ได้อย่างไร
ผม : ก็ตอบไปว่า .. ก็ที่ haward U. เขาสอนเรื่องนี้กันแล้ว
ดร.อ : ถามว่า .. แล้วจะมาถึงคนในหมู่บ้านได้อย่างไร
ผม : ก็ตอบไปว่า .. มีหนังสือก็อ่านกันเอาเอง อ่านกันออกแล้ว
ดร.อ : ถามว่า .. แล้วที่ฝ่าไฟแดง จนรถชนตายนั่นหละ
ผม : ก็ตอบไปว่า .. ช่วยไม่ได้ ไม่อ่านหนังสือกันเอง ทุกคนมีหน้าที่อ่านหนังสือ
ดร.อ : รำพึง .. งั้นก็ตายกันต่อไป
ผม : ผมไม่ตอบครับ .. จบ

คิดต่อ : กรณีสุราในชีวิตจริง
.. เราทราบว่าสุรา เป็นสาเหตุของการทำให้ตับแข็ง และเสียชีวิต
.. แม้อ่านหนังสือออก หรือพออ่านออก อาจไม่ช่วยให้บางคนลด ละ เลิกดื่มสุราได้
.. บางทีคนที่ Haward U. ก็อาจใช้หลักเดียวกันว่า .. มีหนังสือให้อ่านแล้วนี่
.. คนมีการศึกษาย่อมรู้โทษของสุรา และรักตัวกลัวตาย .. กว่าคนไม่รู้หนังสือ
.. ผล คือ ทุกคนกลัวตาย จึงไม่มีใครดื่มสุรา เพราุะทุกคนอ่านหนังสือออก