โลกสวยงาม จะเห็นบางด้านที่มืดมน โลกไม่สวยก็จะเห็นว่ามืดไปซะทุกด้าน

beautiful world
beautiful world

25 พ.ค.59 เห็นอาจารย์ใหญ่แชร์เรื่องนี้เข้ามาในกลุ่ม
เป็นประเด็นเผ็ดร้อนว่าวงการอุดมศึกษามีด้านมืด
จากหัวข้อบทความใน posttoday.com มี 3 ด้าน
1. แย่งชิงผลประโยชน์
2. เล่นพวกพ้อง
3. สองมาตรฐาน
พอเห็นหัวข้อผมก็รู้สึกสนใจขึ้นมาเลย
ทำให้นึกถึงคำว่า “โลกนี้สวยงาม (beautiful world)
โลกคงสวยงามถ้าโลกนี้มืดเฉพาะอุดมศึกษา และปัญหานี้มีเฉพาะอุดมศึกษา

ประเด็นทั้ง 3 เชื่อมโยงกับกรณี ดอกเตอร์ทั้ง 3 ของ มรภ.พระนคร ที่เสียชีวิต
เท่าที่อ่านเอกสาร 2 ฉบับของ ดร.วันชัย ปัญหามาจากเรื่องอัตตา ด้วยส่วนหนึ่ง
ซึ่งผมเห็นด้วยกับ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ นะครับ
ที่ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
ชอบประเด็นทั้ง 4 ที่ท่านพูดถึงด้วย
– ความขัดแย้งในรั้วมหาวิทยาลัย
– เปิดขุมทรัพย์ หลักสูตรพิเศษ
– สาวไส้ระบบมาเฟีย
– ถึงเวลาผ่าตัดใหญ่
ที่อ่านใน posttoday.com

หลักธรรมมาภิบาล (Good governance) เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดี
ผู้บริหารสถาบัน/คณะวิชา/หน่วยงานยึดเป็นแนวปฏิบัติก็เชื่อได้ว่าจะมีการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาที่ดี
ซึ่งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านคุณภาพทางวิชาการและเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค

หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุม ดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้มีความหมายอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้อง ชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์การภายนอก เป็นต้น

1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)
4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)
5. หลักความโปร่งใส (Transparency)
6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
8. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
9. หลักความเสมอภาค (Equity)
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)

http://thaiall.blogspot.com/2014/07/blog-post_20.html
อันที่จริงผมว่าโลกนี้ก็ยังสวยงามอยู่นะครับ
แต่ถ้าจะให้มองว่าโลกนี้มีที่มืดอยู่แค่กลุ่มคนกลุ่มนั้น
ก็ทำใจลำบากหน่อย น่าจะมีกันทุกกลุ่ม ทุกประเภทองค์กรกันเลยรึเปล่า
เพราะเห็นในข่าวว่าเรามีปัญหา 3 ด้านนี้ตลอด
1. แย่งชิงผลประโยชน์ (advantage)
พอเป็นผลประโยชน์ก็ต้องแย่งกันสิครับ
ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร
ดร.อาทิตย์ พึ่งบอกว่า ตำแหน่งอย่างว่าซื้อกันเป็นล้าน
หรือเขาหัวโล้นที่น่านก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ของคนที่นั่น
หรือข่าวทุจริตอื่น ๆ ก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น
ทีวีดิจิตอล ไม่จ่ายงวด 3 ที่เหลือเค้าจ่ายกัน
ก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ จากเค้กก้อนเล็ก ๆ ก้อนหนึ่ง
2. เล่นพวกพ้อง (partisan)
ที่นิคมอุตสาหกรรม รับคนไปทำงาน
บางบริษัทมีคนหมู่บ้านนั้น ทั้งหมู่บ้านเพราะ HR ชวนมา
บางบริษัทรับเฉพาะมหาวิทยาลัย X เพราะ HR ชวนมา
ผมไปซื้ออาหารเจ ขนาดชวนรับพระ ยังให้แบ่งพวกเลย
ดูกีฬา ยังแบ่งข้างเชียร์ ไม่รู้จักสักคน ก็ยังอุตสาห์เลือกพวกจนได้
3. สองมาตรฐาน (double standard)
สอบโควต้า รับเด็กในเขต รู้ไหมลูกใคร
มาตรฐานหนึ่งสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง
อีกมาตรฐานสำหรับคนนอกกลุ่ม เป็นเรื่องปกติไปแล้ว
ถ้าเป็นคนของเรา เราจะปฏิบัติกับเค้าอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นคนของคนอื่น เราจะปฏิบัติกับเค้าอีกอย่างหนึ่ง
เป็นมาตรฐานที่แบ่งแยกตามผลประโยชน์ทั้งนั้น

สรุปว่า .. ผมก็แค่แลกเปลี่ยนความคิดความเห็น
เพราะรู้ว่าเป็นปัญหาที่เป็นธรรมชาติ และอาจารย์ท่านก็หยิบมาพูด
เพื่อที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น
เข้าใจ และเห็นด้วย
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596

ทางออกของการศึกษาไทย คือ decentralization

centralization decentralization
centralization decentralization

ไปอ่านพบเรื่อง การกระจายอำนาจการศึกษา คือทางออกของการศึกษาไทย
ที่ http://board.palungjit.org/f10/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-143339.html

อ่านดูแล้ว ผมว่าเขาสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยเน้นการกระจายอำนาจ
แต่มองเห็นปัญหา จำแนกได้ 5 ข้อ ..
เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้

แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ คือ การทำอย่างไรจึงจะมีระบบบริหารการศึกษาที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ คนแต่ละคนที่มีหน้าที่ทำงานอะไร ได้ทำงานนั้น ๆ ได้อย่างไม่มีอุปสรรค ระบบบริหารที่ดี คือทำให้เกิดระบบที่จริงจังที่จะทำงานต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ และสำหรับประเทศไทยที่มีประชากร 64-65 ล้านคน การรวมศูนย์อำนาจเป็นสิ่งที่รังแต่จะทำให้ระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบราชการเดินไปได้ยาก ระบบการศึกษาที่ยึดโยงกับระบบราชการ จะต้องกระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่น

ผลแห่งการพยายามปฏิรูปการศึกษา จึงทำให้เกิดเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นมา 176 แห่ง ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เป็นผลตามมามีดังต่อไปนี้

1. บทบาทหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา (Roles and Functions)
ยังไม่ชัดเจน คือไม่มีกฎหมายรองรับให้เป็นนิติบุคคลที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในเขตพื้นที่การศึกษาของตน หากในทัศนะของผม ควรให้เขตพื้นที่ได้มีหน้าที่ครบถ้วนต่อไปนี้ คือ การวางแผนรวมของเขตพื้นที่, การจัดสรรกำลังคน เกลี่ยกำลังคน, การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการรณรงค์หางบประมาณเสริมจากงบประมาณที่ได้จากส่วนกลาง การจะทำได้ดังกล่าว จะต้องมีการเสนอเป็นกฎหมายลูก ประกอบการปฏิรูปการศึกษา ทำให้เกิด CEO การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่

2. การเปลี่ยนแปลงยังไม่เกิดแรงผลักดันให้ต้องพัฒนาอย่างชัดเจน (Impact and Momentum)
จากการสังเกตของผม ครูอาจารย์จำนวนมาก ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน ยังไม่มีการดำเนินการไปตามมาตรฐานการศึกษา ดังที่ทาง สมศ. ได้รายงานต่อสาธารณะหลายครั้ง ก็ยืนยันได้ว่า ยังไม่มีการพัฒนาการทำงานของครู ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนของนักเรียนก็เลยยังไม่พัฒนา จากการศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของคนไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เรามีจุดอ่อนด้าน “ขีดความสามารถของกำลังคน” ซึ่งแน่นอนว่าทำให้การที่ต่างชาติคิดจะมาลงทุนในไทยก็ต้องคิดมาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ก็เป็นผลพลอยที่จะเห็นได้จากอาการชะงักให้เห็นในช่วง 4-5 ปีหลังนี้

3. การยังไม่เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของชุมชน (Participation)
ผมลองได้ศึกษาจากที่สอนในระดับดุษฎีบัณฑิตทางความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา ทั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และการสอนที่อื่นๆ พบว่า ต้นทุนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่น่าจะเพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาระดับ ป. 1 ถึง ม. 6 เฉลี่ยน่าจะเพียงพอที่ 16,500 บาท ในช่วงที่ค่าเงินเฟ้อและค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยปัญหาราคาน้ำมัน จะทำให้มีผลกระทบต่อการศึกษาเช่นกัน ในอีกไม่นานคงต้องมองต้นทุนที่ 20,000 บาท นั้นหมายความว่าจะจัดการศึกษาให้ได้ดีเป็นมาตรฐาน คงต้องมีเงินเสริมจากงบประมาณแผ่นดินสักร้อยละ 30 ซึ่งต้องมาจากท้องถิ่น พ่อแม่ผู้ปกครอง และอื่นๆ หากไม่ได้การมีส่วนร่วมจากชุมชน การศึกษาของชาติในระดับภูมิภาคก็จะประสบปัญหา

4. ความเสื่อมล้าของการศึกษาภาคเอกชน (Private Education)
จากการประมาณการของผมเอง คิดว่าภาคเอกชนจะมีบทบาทในการศึกษาขั้นพื้นฐานเหลือไม่เกินร้อยละ 10 โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา ที่พอจะเป็นความต้องการ และเอกชนทำได้ดี คือระดับอนุบาลศึกษา การศึกษาประถมวัย โรงเรียนเอกชนนั้นเป็นทางเลือกของการศึกษา ที่หากเขามีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง ภาครัฐก็ไม่ต้องไปเหนื่อยทำแทนเขา พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง เขามีความสามารถจ่ายเงินได้บางส่วน หากมีการสนับสนุนเงินสมทบ หรือมี Education Coupon ที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการศึกษาที่ผู้ปกครองได้เลือกส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนเอกชนได้หัวละเท่าใด และประกาศอย่างชัดเจนแน่นอน เอกชนเขาจะได้ไปคิดแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ถูก แต่ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน เขาลงทุนทำไปแล้ว มีแต่ล้มเหลว ก็เป็นความสูญเปล่า

5. การขาดระบบพัฒนานักบริหารการศึกษาพันธุ์ใหม่ (New Leadership)
เรามีการจัดการเรียนการสอนด้านบริหารการศึกษากันมากมาย หลายแห่ง แต่ทั้งหมดยังมีปัญหาในด้านต่อไปนี้
– การมีวิสัยทัศน์ที่จะมองการณ์ไกล (Visions) บางที่อาจต้องเข้าใจในความเป็นไปในโลกสากล ประเทศที่เขาพัฒนากันไปแล้วนั้น มีแนวโน้มกันอย่างไร
– การมีความสามารถในการวางแผน มีแผนพัฒนา (Planning Skills) การจะต้องไปขอเงินขอทางจากกลุ่มต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หากเป็นภาคธุรกิจ เขาต้องมีแผนงานที่จะเห็นได้ว่าจะต้องการใช้เงินจำนวนเท่าใด ไปใช้เรื่องอะไร จะมีความคุ้มหรือไม่ จะต้องมีการสนับสนุนต่อเนื่องกันนานสักเท่าใด
– การมีความเข้าใจและทักษะทางการเมือง (Political Skills) นักบริหารการศึกษายุคใหม่หนีไม่พ้นการเมือง ต้องสามารถทำงานร่วมกับนักการเมือง ตัวแทนประชาชนในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการถ่วงดุลแรงผลักดันของกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม
– ความรอบรู้ในเรื่องกฎหมาย (Legal Education) การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ มีการออกกฎหมาย กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติที่ต้องโปร่งใสมีหลักที่จะยึด

นี่เป็นเพียงบางส่วนที่นักบริหารการศึกษารุ่นใหม่ ๆ ต้องพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถ

มองในอีกด้านหนึ่งคือ “โอกาส” ผมคิดว่าในช่วง 5-10 ปีต่อไปนี้ เราคงต้องมีนักบริหารพันธุ์ใหม่ ระดับนำ อาจจะเรียกว่า CEO ทางการศึกษาสัก 1000 คน ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค คนระดับนี้อาจได้แก่ ผอ. เขตพื้นที่การศึกษา รองผอ. ที่จะเตรียมตัวเรียนรู้เพื่อจะรับหน้าที่ต่อไป นอกกจากนี้คือ ผอ. อาจารย์ใหญ่สถานศึกษาทั้งของภาครัฐ และเอกชน ขนาดใหญ่

อีกระดับหนึ่ง อาจจะนับเป็นหมื่น ๆ คนทีเดียว เขาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีทั่วประเทศนับกว่า 30000 แห่ง อีกส่วนคือพวกที่จะมีบทบาทจากภายนอก จากภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน ระบบปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล, อบจ., อบต., เขาเหล่านี้ โดยเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่บุคลากรของการศึกษาโดยตรง แต่เขาจะมีบทบาทในการช่วยผลักดันระบบการศึกษาให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีพลัง

เราคงต้องมองวิธีการผลิตกำลังคนไปนำระบบการศึกษา และระบบสังคมในแบบใหม่ โดยต้องเน้นไปที่ขีดความสามารถในการไปเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างจริงจัง มากกว่าการจะผลิตคน โดยเน้นไปที่ปริญญาบัตร หรือกระดาษ

ระบบผลิตคนและผู้นำทางการศึกษานั้น จะต้องเป็นระบบประสมประสานที่ทำให้นักบริหารการศึกษาใหม่ มีเครื่องมือที่ติดตัวไปในการทำงาน และสามารถผลักดันขับเคลื่อนการศึกษาของชาติไปได้อย่างจริงจัง เราต้องไม่หวังการนำจากระบบการเมืองส่วนกลาง เพราะแนวโน้มความไม่มั่นคงทางการเมืองในส่วนกลาง ประกอบกับมันเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะยึดการบริหารแบบรวมศูนย์ แบบหวงอำนาจ