งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์

research
research

http://www.riclib.nrct.go.th/database/database.html

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นายศุภชัย ธรรมวงศ์  (2551) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์สำนักงานฯ ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยใช้ภาษาพีเอชพี และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล
เว็บไซต์แบ่งได้ 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของเจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป และส่วนระบบบริหารจัดการข้อมูล เป็นส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้รับผิดชอบจากแต่ละหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลได้แก่ ข้อมูลวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การจองการใช้งานห้องประชุม รถยนต์ เครื่องโปรเจคเตอร์ การจัดการข้อมูลประชากร สถานการณ์โรคเอดส์ การจัดอันดับสถานการณ์โรคติดต่อต่าง ๆ การจัดการข้อมูลบุคลากร การจัดการไฟล์ดาวน์โหลด การจัดการอัลบั้มภาพ การจัดการข่าวกิจกรรม ข่าวประกวดราคา ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามพบว่า 1) กลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความพึงพอในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.35) 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูล มีความพึงพอใจในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.25) และ 3) กลุ่มเจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่วไป มีความพึงพอใจระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.75) สรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่มา http://ss.lib.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=18408 (7 พ.ค.55)

นางสาวมานีสงค์ ปฐมวิริยะวงศ์ (2550) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ เหตุผลที่ใช้เว็บไซต์ ลักษณะของการใช้ประโยชน์ และระดับความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษา ใช้วิธีการสำรวม สุ่มตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 400 คน พบว่า พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบันมีความถี่ 1 – 3 ครั้งต่อเดือน แต่ละครั้งใช้เวลา 15 – 29 นาที ส่วนใหญ่เข้าเว็บไซต์เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสาร และเพื่อติดต่อสื่อสารกับสถาบันในระบบของการลงทะเบียน การตรวจสอบผลการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลประกอบการศึกษา วิจัย และรายงาน
ผลเปรียบเทียบด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบัน แต่นักศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มของตนเองจะมีพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์แตกต่างกับนักศึกษาที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประเด็นความต้องการของนักศึกษา มากที่สุด คือ ต้องการให้เว็บไซต์ของสถาบันปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ รองลงมาคือควรปรับปรุงการออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ และจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเพื่อสืบค้นได้ง่าย มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มความสามารถของเครื่องบริการ เพื่อการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้บิรหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา http://www.riclib.nrct.go.th/abs/2550%5Cab177813.pdf (7 พ.ค.55)
ที่มา http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researching&nid=26608 (12 ต.ค.58)

กรณีศึกษา moodle ล่ม

moodle space error
moodle space error
26 ก.ย.54 ได้พบกับเครื่องบริการที่แจ้งว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ว่า Error: Database connection failed. It is possible that the database is overloaded or otherwise not running properly. The site administrator should also check that the database details have been correctly specified in config.php ก็เริ่มต้นด้วยการเข้าเครื่องบริการเครื่องหนึ่งใน Server farm ผ่าน ATen Master View (KVM) ด้วยการกดปุ่ม Scroll lock 2 ครั้ง ก่อนที่หน้าจอรับรหัสจะปรากฎขึ้น เมื่อเข้าได้แล้วก็พบว่า Harddisk ขนาด 35 GB แบ่งเป็น 2 Drive คือ C drive = program (15 GB) และ D drive = data (20 GB) แล้วขนาดที่เหลือคือ C Drive = 100 MB และ D Drive = 10 GB
จากข้อมูลข้างต้นก็คาดว่าปัญหาเกิดจาก C Drive ไม่เหลือพื้นที่แล้ว จึงเข้าไปตรวจว่ามีอะไรแปลกปลอมเข้ามาในเครื่องหรือไม่ แต่ก็ไม่พบ เมื่อใช้ search หาแฟ้ม over 1 MB ก็พบห้อง c:\windows\system32\logfiles มีแฟ้มบันทึกการจราจรของผู้ใช้ จึงได้คัดลอกข้อมูลทั้งหมดออกไปไว้ใน external harddisk สอดรับกับตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2550 แล้วจึง clear พื้นที่ และได้พื้นที่เหลือใน C Drive กว่า 5 GB เพื่อตรวจสอบว่าการแก้ไขข้างต้นปลด error ออกจากระบบอีเลินนิ่งที่ใช้ moodle ได้หรือไม่ จึง restart computer (ถ้า restart แล้วยังพบปัญหา ก็จะตรวจฐานข้อมูล เพราะจากข้อความท ทำให้คาดว่า mysql น่าจะมีปัญหา แต่ไม่ทันได้เข้าไปตรวจ ปัญหาก็หมดไปซะก่อน)
ผลการตรวจสอบหลังแก้ไข พบว่าระบบอีเลินนิ่งทำงานได้ตามปกติ

ขอบคุณนักศึกษาฝึกงานที่ช่วยทดสอบข้อมูลกับระบบฐานข้อมูล

banner design
banner design

โดยปกติแล้ว .. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลไปได้ระยะหนึ่ง จะต้องมีการทดสอบข้อมูลกับระบบ ซึ่งระบบประเมินบุคลากร 360องศา และระบบที่เกี่ยวข้องมีถึง 6 ส่วนหลัก ที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้เข้าดำเนินการในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และแยกรายงาน เพื่อการติดสินใจที่แตกต่างกันอีกหลายรายงานหลัก .. ในส่วนของการทดสอบก็ต้องใช้ปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น เพื่อทดสอบในส่วนของการประมวลผลความถี่ และค่าเฉลี่ย ตามลักษณะบุคคลที่แตกต่างกัน 2 ประเภท คือ บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน ซึ่งแต่ละสายก็จะแบ่งเป็นผู้มีตำแหน่งบริหารกับไม่มี

23 พฤษภาคม 2554 เป็นครั้งแรกที่มี คุณกิตติภพ ยอดศิริ (น้องมีน) และคุณณัฐพงษ์ ชมพูงาน (น้องปั้ม) นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เข้ามาช่วยในการทดสอบข้อมูลกับตัวระบบ ทำให้เห็นข้อมูลที่วิ่งเข้ามาในระบบก่อนเปิดใช้จริง และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงของระบบได้ทัน
+ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150190381742272&set=a.423083752271.195205.350024507271

ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ม.เกษตร

ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th

ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th

ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้

กรณีศึกษา single sign on กับระบบสารสนเทศ

รายงานยอดสมัครเรียน เข้าระบบ single sign on
รายงานยอดสมัครเรียน เข้าระบบ single sign on

15 ม.ค.54 กรณีศึกษา : แนวคิดของ single sign on คือ การล็อกอินครั้งเดียว แล้วเข้าได้ทุกระบบ  ขณะนี้บุคลากรในองค์กรสามารถใช้งานได้แล้วในระบบอินทราเน็ต ที่มีสารสนเทศจากเจ้าของระบบฐานข้อมูลเป็นผู้ร่วมกำหนดนโยบาย โดยรายงานตัวล่าสุด คือ การคัดกรองข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลทะเบียน มาเป็นระบบสารสนเทศยอดสมัครเรียนจริงจำแนกตามวันที่สมัครจริง และกำหนดระดับการเข้าถึงเพื่อจัดสารสนเทศให้กับผู้มีสิทธิ์เข้าถึง วัตถุประสงค์ของรายงาน เพื่อให้คณะวิชา และอาจารย์ได้ทราบผล ซึ่งเป็นสารสนเทศสำคัญในการกำหนดแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องต่อไป .. ถ้าต้องการเห็นรายงานต้องเข้าระบบอินทราเน็ตและแสดงสิทธิ์

คุณทนงศักดิ์ เมืองฝั้น (เอก) แนะนำว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดตัวเว็บ e-Gov ตัวใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยี single sign on (www.egov.go.th) เห็นการแยกบริการเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน 2 กลุ่ม คือ แยกตามบทบาท ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป ธุรกิจ ภาครัฐ และชาวต่างชาติ เมื่อดูบริการของภาครัฐยังพบการจัดกลุ่มอายุของผู้รับบริการไว้ 4 ประเภท คือ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยสูงอายุ

ผลประเมินโครงการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูล

26 ต.ค.52 โครงการนี้มีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ จำนวนคน กับ ความพึงพอใจ พบว่าผลประเมินความพึงพอใจตกครับ อันที่จริงมีประเด็นให้วิเคราะห์กันต่อได้ และมีวิธีปรับแบบสอบถามที่สมเหตุสมผลกว่านี้ได้ แต่ตั้งตัวบ่งชี้ไว้ 3.5 ของภาพรวม แล้วผลได้เพียง 3.04 ส่วนจำนวนคนไม่มีปัญหา เพราะตั้งไว้ 30 คนแต่เข้ามา 40 กว่าครับ โดยสรุปคือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ มี 2 ข้อ ได้แก่ 1)มีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างน้อย 80% ของเป้าหมาย 2) ความพึงพอใจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 3.5 จากคะแนน 5 ระดับ ซึ่งโครงการบรรลุตามตัวบ่งชี้ของโครงการเพียง 1 ตัวบ่งชี้
     ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ห้องอบรมมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=2.64, S.D=0.93) วิทยากร มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.63) หัวข้อที่บรรยาย มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3, S.D= 0.69) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับมาก(X= 3.08, S.D= 0.79) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.8) ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.04, S.D= 0.66)
     ส่วนประเมินความเข้าใจ พบว่า ความเข้าใจหลังวิพากษ์สูงกว่าก่อนเข้าโครงการมีร้อยละ 64 มีความเข้าใจเท่าเดิมร้อยละ 32 และมีความเข้าใจลดลงร้อยละ 4