ข้อมูลเปิด (Open Data) และเกี่ยวกับ data.go.th

ข้อมูลเปิด (open data)
ข้อมูลเปิด (open data)

Open Data

.. เคยอ่านวัตถุประสงค์ของ data.go.th แล้วก็ชื่นชม
ข้อแรก คือ ทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ  สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของภาครัฐได้ง่าย ข้อมูลที่เปิดให้ Download จากเว็บไซต์พบว่า มีหลายรูปแบบ อาทิ excel, json และ xml แล้วบรรทัดสุดท้ายของหน้า About พูดถึง ข้อมูลเปิด ว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ แล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการได้

ท่านที่สนใจก็เข้าไปสืบค้นข้อมูลกันได้นะครับ
ที่ https://data.go.th/About.aspx

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)

[เพิ่มเติม]
เกี่ยวกับข้อมูล Data ผมก็สนใจจึงทำโฮมเพจไว้หลายหน้าที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

http://www.thaiall.com/xml

http://www.thaiall.com/ajax

http://www.thaiall.com/lampang/index.php

http://www.github.com/thaiall

[Top Open Data]

ข้อมูลที่ถูก Download มากที่สุด คือ พิกัดตำบลจาก data.go.th
วันที่ 25 กันยายน 2560 พบมีคนเข้าชม จำนวนการเข้าชม 46423 ครั้ง
เป็นข้อมูลขอบเขตการปกครอง ของ กรมการปกครอง

ได้แฟ้มพิกัดตำบลของทั้งประเทศ
จำนวน 7768 รายการ จาก data.go.th มาในแฟ้ม tambon.xlsx
แล้วแปลงเป็น csv แต่เรียงตามรหัสตำบลเก็บในแฟ้ม tambon.csv
เลือกเฉพาะลำปางได้ 97 ตำบล เก็บในแฟ้ม tambon_lampang.csv
นับจาก tambon.xlsx ด้วย pivot table ในลำปางมี 97 ตำบล
สรุปว่ายืนยันข้อมูลว่าตรงกับรายการข้อมูลที่มีจริงใน tambon_lampang.csv
ตรวจตำแหน่งของ ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง
พบว่า latitude,longitude ไปตกกลางทุ่งนา
หลังศูนย์แสดงสินค้าเซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
ห่างทางหลวงไปหลายร้อยเมตร

ทั้งหมดเก็บไว้ที่ https://github.com/thaiall/lampang

ขอบคุณนักศึกษาฝึกงานที่ช่วยทดสอบข้อมูลกับระบบฐานข้อมูล

banner design
banner design

โดยปกติแล้ว .. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลไปได้ระยะหนึ่ง จะต้องมีการทดสอบข้อมูลกับระบบ ซึ่งระบบประเมินบุคลากร 360องศา และระบบที่เกี่ยวข้องมีถึง 6 ส่วนหลัก ที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้เข้าดำเนินการในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และแยกรายงาน เพื่อการติดสินใจที่แตกต่างกันอีกหลายรายงานหลัก .. ในส่วนของการทดสอบก็ต้องใช้ปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น เพื่อทดสอบในส่วนของการประมวลผลความถี่ และค่าเฉลี่ย ตามลักษณะบุคคลที่แตกต่างกัน 2 ประเภท คือ บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน ซึ่งแต่ละสายก็จะแบ่งเป็นผู้มีตำแหน่งบริหารกับไม่มี

23 พฤษภาคม 2554 เป็นครั้งแรกที่มี คุณกิตติภพ ยอดศิริ (น้องมีน) และคุณณัฐพงษ์ ชมพูงาน (น้องปั้ม) นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เข้ามาช่วยในการทดสอบข้อมูลกับตัวระบบ ทำให้เห็นข้อมูลที่วิ่งเข้ามาในระบบก่อนเปิดใช้จริง และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงของระบบได้ทัน
+ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150190381742272&set=a.423083752271.195205.350024507271