ทดสอบการทำงานของเครื่องบริการ กับเครื่องลูก

การเชื่อมต่อเข้ามาพร้อมกัน 10 connection
การเชื่อมต่อเข้ามาพร้อมกัน 10 connection

ที่มา ที่ไป
เตรียมสอนนักศึกษาเรื่องศักยภาพของเครื่องบริการ
ไม่ได้อยู่ที่ RAM อย่างเดียว ยังมีรายละเอียดอีกมาก
แม้เครื่องจะอยู่ใน Cloud ก็ยังสุ่มเสี่ยงต่อการเดี้ยงกลางอากาศได้เช่นกัน
เพราะเวลาเช่าเครื่องบริการใน Cloud ก็ต้องกำหนดว่าจะจ่ายให้กับอะไรอยู่ดี

การเชื่อมต่อเข้ามา 1 connection ก็ยังรับไหว
การเชื่อมต่อเข้ามา 1 connection ก็ยังรับไหว

การทดสอบเครื่องที่ทำงาน
ทดลองใช้เครื่องหนึ่งร้องขอบริการจากอีกเครื่องหนึ่ง
ในที่นี้ desktop2 คือ เครื่องบริการเว็บและอีเมล
ส่วนเครื่อง notebook คือ เครื่องลูกที่ส่ง request ไปยังเครื่องบริการ
ด้วยการเปิดเว็บเพจเดียวกันพร้อม ๆ กัน 10 iframe ใน 1 หน้าต่าง
แต่ละ iframe เรียกไปยัง url แบบส่งค่า get ที่แตกต่าง
และ url คือ php ที่เรียกใช้ smtp ก็จะ load เครื่องบริการเกือบ 50 Kbps
โปรแกรมที่ monitor ใช้ tcpview for windows ซึ่ง download ได้ฟรี
จาก https://technet.microsoft.com/en-us/library/bb897437.aspx
และใช้ task manager ดู performance ของ ethernet ว่าขึ้นลงอย่างไร
เมื่อเครื่อง notebook ส่งคำขอใช้บริการไปยัง desktop2
เครื่องบริการทดสอบเปิดบริการด้วย xampp เฉพาะส่วนของ apache
ถ้าเปิด mercury ก็คงจะทำให้เกิดภาระกับเครื่อง desktop2 ขึ้นอีกเยอะ

ในขณะที่เครื่องลูกยังไม่ได้เชื่อมต่อเข้ามาผ่าน port 80
ในขณะที่เครื่องลูกยังไม่ได้เชื่อมต่อเข้ามาผ่าน port 80

สรุปผลการทดสอบเครื่องที่ทำงาน
เครื่อง desktop2 เป็นเพียงเครื่อง PC ที่มีทรัพยากรต่ำ
และ Bandwidth ต่ำ รองรับการ download ได้ไม่มาก
และไม่ได้ออกแบบให้ทำงานกับ Cache server : Static file แต่อย่างใด
ถ้ามี request เข้ามาสัก 20 – 30 คน พร้อม ๆ กัน
เครื่องนี้ก็คงจะรองรับการเชื่อมต่อไม่ไหวเป็นแน่ เพราะคอขวดเยอะครับ