ความแตกต่างของเกณฑ์คุณภาพระดับอุดมศึกษา เก่ากับใหม่

เนื้อหาใน post นี้มีเพื่อการทบทวน ชวนแลกเปลี่ยน และเตรียมพร้อมตามเอกสารฉบับร่าง
ยังไม่เป็นทางการ และยังอ้างอิงไม่ได้ จนกว่าฉบับจริงจะออกมาใน 2 – 3 เดือนข้างหน้า
เป็นผลสืบเนื่องจากที่มีโอกาสเข้าร่วมวิพากษ์ (ร่าง)
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 ที่เชียงใหม่

จึงสนใจเรื่องความแตกต่างของเกณฑ์เก่ากับเกณฑ์ใหม่
แล้วคุณลักขณา มะโนพันธ์ ได้ทำตารางแสดงการเปรียบเทียบ 2 ตาราง
คือ 1) ความต่างของเกณฑ์ใหม่กับเกณฑ์เก่า และ 2) ความต่างของเกณฑ์เก่ากับเกณฑ์ใหม่
จึงรู้ว่า สกอ.นำมาตรฐานของ สมศ. จำนวน 9 มาตรฐานแรกเข้ามาในเกณฑ์ใหม่แล้ว
โดยไม่นำเรื่องทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ชี้นำสังคม หรือเอกลักษณ์ อัตลักษณ์เข้ามาในเกณฑ์ใหม่
ส่วนร่างเกณฑ์ก็ไม่มีตัวบ่งชี้เรื่องทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยตรงในระดับคณะวิชา
ซึ่งสะท้อนว่ามีการปรับรายละเอียดไปแล้วในระดับหนึ่ง

แล้วต้องตอบคำถามว่าเกณฑ์ใหม่กับเก่าต่างกันอย่างไร
ก็อธิบายเป็นคำพูดได้ว่า เกณฑ์เก่าจะต้องรับผิดชอบเหมือนกันในทุกระดับ
แต่เกณฑ์ใหม่จะกำหนดให้แต่ละระดับรับผิดชอบแตกต่างกันไป
ทำให้หลักฐานในแต่ละระดับใช้ซ้ำไม่ได้แบบเดิม

เมื่อเขียนเป็นแผนภาพ แบบที่ผมเข้าใจ ก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้

เกณฑ์ปี 2553
เกณฑ์ปี 2553

เกณฑ์ปี 2557
เกณฑ์ปี 2557

ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557

http://www.scribd.com/doc/221987061/

ประเมินคุณภาพการศึกษารอบสาม ประจำปี 2554

เพลง สอบตก ของ ดิอินโนเซ็นท์

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
เผยผลประเมินภายนอกสถานศึกษาในรอบ 3 ประจำปี 2554
พบสถานศึกษาไม่ผ่านการประเมินจำนวนมาก เตรียมสรุปผล หาจุดอ่อน-แข็งการศึกษาไทย

28 มิ.ย.2555 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

เปิดเผยว่า หลังจากที่ สมศ.
ได้จัดทำการประเมินภายนอกสถานศึกษาในรอบ 3 ประจำปี 2554
ขณะนี้ได้ทำการสรุปรวมผลการประเมินเบื้องต้นแล้ว พบว่า

ผลการประเมินสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. รับการประเมินจำนวน 7,985 แห่ง
2. ได้รับการรับรองจาก สมศ. จำนวน 5,690 แห่ง
3. ไม่ผ่านการรับรอง จำนวน 2,295 แห่ง

ผลการประเมินสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา
1. เข้ารับการประเมินทั้งหมด จำนวน 179 แห่ง
2. ผ่านการรับรอง จำนวน 106 แห่ง
3. รับรองแบบมีเงื่อนไขอีก จำนวน 53 แห่ง
4. ไม่ผ่านการรับรอง จำนวน 20 แห่ง

ผลการประเมินสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา
1. เข้ารับการประเมินจำนวนทั้งหมด 72 แห่ง
2. เสนอกรรมการพิจารณาแล้ว จำนวน 47 แห่ง
3. ผ่านการรับรอง จำนวน 45 แห่ง
4. รับรองแบบมีเงื่อนไขอีก จำนวน 2 แห่ง
ได้แก่ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และวิทยาลัยลุ่มน้ำปิง
ระดับดีมากคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ระดับดีมากที่สุดของกลุ่มราชภัฎคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

http://www.manager.co.th/QOL/viewnews.aspx?NewsID=9550000085777
http://edunews.eduzones.com/socialdome/94390
http://www.thairath.co.th/content/edu/271862
http://www.cheqa.mua.go.th/

บทเรียนที่พบในอดีตเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา

ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร
ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร

1 มี.ค.55 มีโอกาสฟัง อาจารย์ปรานี  พรรณวิเชียร  บรรยายเรื่อง ประเด็นในบางตัวบ่งชี้ และ share&learn  ที่ The Empress จังหวัดเชียงใหม่  .. ท่านเล่ากรณีปัญหาที่ได้พบจากการเป็นผู้ประเมินในมหาวิทยาลัยต่าง  ๆ ในอดีต .. ท่านเล่าให้ฟังเพื่อเป็นบทเรียนว่าไม่ควรเกิดขึ้น อาทิ
1. การตรวจเยี่ยมนอกที่ตั้งพบว่าไม่มีอาจารย์ประจำหลักสูตรทำงานอยู่
2. กรรมการสภาอยากเป็น ง แต่คณะวิชาและอธิการอยากเป็น ข (เหมือนแม่ปูเลยครับ)
3. บวกเลขผิด ๆ ถูก ๆ แล้วในมหาวิทยาลัยใครจะรับผิดชอบ (ใครควรรับรู้)
4. บางคณะอยากให้งานประกันเขียนรายงาน (ไว้อาลัย)
5. แค่วิทยากรมาบรรยายก็เรียก KM แล้ว ไม่มี share & learn กันเลย
6. บางที่ก็มี blog มีคนเขียน 1 คน จะเรียกว่ามหาวิทยาลัยมี km ได้อย่างไร
7. best practice ของ QA วัดจากการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างสถาบัน ไม่ได้
8. QA ต้องลงไปช่วยทำความเข้าใจ กำกับ ไปตรวจสอบให้ทุกอย่างถูกต้อง
9. บางคณะทำแค่ 2.1 กับ 2.6 เพราะ QA บอกว่าตามใจ (แล้วพันธกิจไปไหน)
10. ประเมินความสำเร็จต้องทำหลังโครงการแล้วเสร็จ มิใช่ประเมินโครงการ
11. MIS ช่วยผู้บริหารตัดสินใจ ส่วน QA ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งผู้บริหารต้องใช้
12. ไม่ต้องส่งชื่อผู้ประเมินเข้าไปมาก ปัจจุบันมี 6000 คน บางคนยังไม่รู้จักแผนกลยุทธ์เลย
13. ภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 ผู้ประกอบการบอกว่าบางคนภาษาคนยังคุยไม่รู้เรื่องเลย
http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA_Training/qa_training.htm

อีกบทเรียนของชีวิตกับ cheqaonlinepage

cheqa กรณี ประธานยืนยัน
cheqa กรณี ประธานยืนยัน

มีโอกาสเข้าไปที่ cheqaonlinepage ทำให้ทราบว่ามีเพื่อนร่วมสนใจเพจนี้ 3 คน โดยได้รับแจ้งว่าทีมไอทีของมหาวิทยาลัยต้องส่งข้อมูลการ remote เข้า server ของมหาวิทยาลัยให้กับผู้ดูแลระบบ cheqa ทางอีเมล เพราะมีกำหนดส่งข้อมูลตามกฎหมายภายในวันนี้ แต่ส่งไม่ได้ด้วยปัญหาทาง script ที่เกิดกับสถาบันที่มี server ของตนเอง ดังนั้นทางผู้ดูแล cheqa ก็จะเข้าไปตรวจสอบแก้ไขให้ในทุกสถาบัน แต่ผมเองก็ไม่สามารถเข้า remote server ได้ เพราะปกติแล้ว server จะอยู่หลัง firewall จึงต้องขอให้คุณชิตช่วยย้ายออกมานอก firewall มาอยู่ใน DMZ เป็นการชั่วคราว และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นการเฉพาะให้กับทีมของ cheqa ในการเข้าแก้ไขปัญหานี้ .. หากแล้วเสร็จก็จะย้ายทุกอย่างกลับเข้าที่เดิม .. งานนี้ต้องขอบคุณคุณชิต ที่ผมแจ้งไปในยามวิกาล แต่ดำเนินการแล้วเสร็จในเวลาไม่กี่นาทีครับ

http://www.facebook.com/pages/cheqaonlinepage/401078065708

อบรมใช้ excel ทำ qa อย่างมืออาชีพ

cheqa excel
cheqa excel

พบโครงการอบรมการใช้ excel เพื่องานประกันคุณภาพของ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในชื่อโครงการ “โครงการอบรม การจัดเก็บข้อมูลและเขียนรายงานประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพ (54/1)

มีหลักการและเหตุผล ดังนี้ ส่วนสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือข้อมูลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ ถึงแม้ว่าบางสถาบันการศึกษาจะมีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Enterprise Resource Planning) แต่การจัดทำข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพยังมีความจำเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบงาน และมีความจำเป็นในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โปรแกรมเอ๊กเชลล์ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลดิบ หรือช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงานต่างๆ และผู้มีส่วนรวมในการจัดเก็บข้อมูลคือบุคลากรของสถาบันนั่นเอง จากการเปิดอบรมหลักสูตรการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพด้วยเอ๊กเชลล์ที่ผ่านมา 10 รุ่น มีข้อมูลจากการประเมินผลการอบรมแสดงว่าสถาบันการศึกษายังมีความต้องการอย่างมากในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถใช้เครื่องมือโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของบุคคลกร เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือในการลดระยะเวลาในการทำงาน และมีข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพต่าง ๆ แม้ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายใน (สกอ. ปี 2554) และตัวบ่งชี้ สมศ รอบ 3 จำนวนตัวบ่งชี้ลง แต่มีความต้องการรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นส่งผลการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อความพร้อมในการรับตรวจใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น ถ้าระบบบริหารจัดการข้อมูลไม่ดี

โครงการอบรมการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพด้วยเอ๊กเชลล์ เป็นโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศอย่างมืออาชีพ และสามารถทำงานอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงการออกแบบจัดเก็บข้อมูลดิบ การออกรายงานสำหรับผู้บริหาร มีข้อมูลพร้อมในการการจัดทำรายงานประจำปี รายการการประเมินตนเอง และจัดเตรียมข้อมูลพร้อมโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูล CHEQA แม้หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพ ยังมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาจัดทำรายงานตามความต้องการข้อมูลที่พลวัต

http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/v54-1/qa-project.pdf
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/course/52/qa2/qa-project2.htm
http://www.thaiall.com/pdf/qa_excel_pro.pdf

ติดตั้ง Cheqa3 ทับ Cheqa2

cheqa version 3
cheqa version 3

15 มิ.ย.54 ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องใช้งานเว็บไซต์ CHEQA เพื่อส่งข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ให้กับ สกอ. และระบบ Cheqa ที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2550 – 2552 มีระบบ Cheqa รุ่น 2 ที่เปิดให้มหาวิทยาลัย Download ไปติดตั้ง และใช้งานในมหาวิทยาลัย เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ
ในปีการศึกษา 2553 มี Cheqa รุ่น 3 ที่ต้องนำมาใช้งานตามเกณฑ์ที่ออกมาใหม่ ในกรณีนี้ผมใช้วิธีการติดตั้งทับลงไปใน Cheqa รุ่น 2 เพราะไม่มีข้อมูลเดิมอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ติดตั้ง .net 4.0 2) กู้คืนฐานข้อมูล Database เข้า SQL Server 3) ติดตั้ง Script ลงไปใน Web Server
เมื่อติดตั้งเสร็จก็ทดสอบ พบปัญหาดังนี้ 1) Error เพราะ Default Server ไม่ได้เปลี่ยนจาก .net จาก 2.0 เป็น 4.0 2) not found เพราะไม่ได้ start web service : .net 4.0 ใน IIS 3) การลงทะเบียนกับ mua.go.th เพื่อรับ web.config กำหนด DB เป็น .\sqlexpress เพื่อให้ทำงานกับ local server
http://www.cheqa.mua.go.th

การติดตั้งระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

cheqa
cheqa

27 เม.ย.54 จากการเข้า อบรมการติดตั้งระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ณ ห้อง M22 อาคารศูนย์บริการมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 มีบทเรียนตามคู่มือ 3 บท คือ 1) ติดตั้งโปรแกรม (Software) ที่สถาบันการศึกษา 2) ขั้นตอนการ Restore ฐานข้อมูล 3) ขั้นตอนการ Backup ฐานข้อมูล โดยมีวิทยากรด้านไอที 2 ท่านสอนติดตั้งระบบ คือ คุณพินิจ  พุ่มนุ่ม และคุณอังสนา  บำรุงพาทย์ ส่วนดร.สุวิมล  ธนะผลเลิศ บรรยายเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบบรุ่น 3 นี้ได้รองรับเกณฑ์ 23 ตัวบ่งชี้ของ สกอ. รองรับเกณฑ์ 18 ตัวบ่งชี้ของ สมศ. และอีก 1 ตัวบ่งชี้ของ กพร.

สิ่งที่พอจะสรุปจากการเรียนรู้ได้ มีดังนี้
1. การติดตั้ง IIS 5 ใน Windows XP SP3
2. การติดตั้ง .net framework 4.0
3. การติดตั้ง Patch แก้ปัญหาที่เกิดกับ sp3 ไม่พบใน sp2
4. การติดตั้ง MS SQL Express
– ถ้ามีปัญหาติดตั้งไม่ผ่านให้ reinstall อีกรอบ
โดยเข้าไปลบห้องใน program files
– ถ้าเปลี่ยนเป็น mixed mode จะกำหนด user ได้
5. การติดตั้ง Dev Express 9.3.4 เฉพาะรุ่นทดสอบนี้
– ถ้า build มาเป็น installer จะมี Dev Express อยู่แล้ว
6. การแก้ปัญหาจากการติดตั้งโปรแกรมสคลิ๊ปของ CHEQA
– คัดลอกห้อง pix และ security ของ filestore, log, tmp
7. การลงทะเบียนใช้งานเพื่อรับ web.config (ใช้โดยสถาบันเท่านั้น)
8. การสร้าง user ใน MS SQL Express
– db selected, user, security, logins,
user mapping, default screma, dbo + db_owner

http://202.44.139.26

การแก้ไข e-doc เชื่อมโยง commitment และ sar

ระบบเอกสารออนไลน์
ระบบเอกสารออนไลน์

11 ก.พ.54 สืบเนื่องจากการอบรม

การเชื่อมโยงเอกสารตามข้อตกลงภาระงาน
และเอกสารประกันคุณภาพการศึกษา

ได้ดำเนินการแก้ไข e-doc ของมหาวิทยาลัย หลังวางแผนร่วมกับงานพัฒนาบุคลากร งานประกันคุณภาพ และดำเนินการจัดอบรมบุคลากร ได้รับข้อเสนอแนะ และดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ มีโปรแกรมที่แยกเป็น static ทั้งหมด 189 folder ซึ่งมีรายการแก้ไขเร่งด่วนทั้งหมด 6 ประเด็น
1. บรรทัดที่ 6 แก้ไขรุ่นของโปรแกรม และ บรรทัดที่ 18 ปรับค่าปริยายจำนวนแฟ้มต่อหน้าจาก 25 เป็น 50 เพราะช่องที่เตรียมไว้ไม่พอสำหรับ 400 แฟ้ม
2. บรรทัดที่ 173 – 176 เปลี่ยนสัญลักษณ์ X เป็น + เพราะความหมายตรงกว่า
3. บรรทัดที่ 161 และ 166 ทำให้แสดงผลการเชื่อมโยงได้มากกว่า 1 แฟ้ม  ด้วยการใช้ . ต่อ string ตามข้อเสนอของอ.เบญ และ อ.อดิศักดิ์
4. บรรทัดที่ 76 เพิ่มการเชื่อมเข้าระบบอินทราเน็ต และระบบประกันคุณภาพ อัตโนมัติแบบไม่ต้อง sign in ใหม่ และสร้างลิงค์ที่สัมพันธ์กันสำหรับการวนไปมาได้
5. บรรทัดที่ 147 แก้การแสดงวันที่ให้เข้าใจง่าย และใช้ปีพ.ศ. อาทิ 28 Aug 2552 12:08:27
6. บรรทัดที่ 191 เพื่อการแสดง source code และภาพแนวการออกแบบระบบเชื่อมโยง ในกรณีที่มีนักพัฒนาต้องการไปพัฒนาต่อ

ในทั้ง 6 ประเด็นมีการดำเนินการแก้ไขระบบ intranet และ sar เพิ่มเติม ให้สอดรับกับประเด็นที่ต้องแก้ไขใน e-doc แต่ไม่กล่าวถึงในที่นี้
http://www.thaiall.com/yonok/edoc_v7_540211.txt