เมื่อผู้สูงอายุขาหัก

 

happy elderly
happy elderly

เล่าสู่กันฟัง
ประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุของแต่ละท่านก็จะแตกต่างกันไป
ตามที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society)

หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน
และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ

คำว่า “ผู้สูงอายุ” ย่อมเกี่ยวข้องกับ “สัจธรรมของชีวิต” ที่ประกอบด้วย เกิด แก่ เจ็บ และตาย

เก็บตะวัน โดย อิทธิ พลางกูร

 

วันที่ 9 พ.ย.2559 ตอนเที่ยงแล้ว หลังเลิกสอนหนังสือ มีโทรศัพท์เข้ามาว่า
ผู้สูงอายุของผมล้มก้นกระแทก คาดว่ากระดูกหักต้องพากันไปหาหมอ
ก็รีบออกไปรับแล้วไปโรงพยาบาลประจำอำเภอทันที
ไปถึงคุณหมอก็ให้ x-ray หลังเห็นภาพแล้ว
ก็รู้ว่ากระดูกขาที่ใกล้กับขาหนีบหัก ต้องผ่าตัดดามเหล็ก
หากผ่าตัดต้องดมยาสลบหลายชั่วโมง ซึ่งเสี่ยงกับการไม่ฟื้น
หากไม่ผ่าตัดก็จะเดินแบบปัจจุบันไม่ได้อีก ต้องเดินด้วยขาหยั่ง หรือนั่งรถเข็น
สรุปคุณหมอส่งเข้าโรงพยาบาลประจำจังหวัด
ผลการวินิจฉัยของคุณหมอก็เป็นไปในทางเดียวกัน
มี 2 ทางเลือก คือ ผ่าตัด กับไม่ผ่าตัด
แต่ปัจจัยที่จะทำให้ไม่ผ่ามีมากเหลือเกิน
คือ อายุ 73 ปี มีอาการอัลไซเมอร์
ปัจจุบันใช้ไม้เท้าอยู่แล้ว และขาข้างที่เป็นก็ไม่แข็งแรง
พบว่า ห้องกระดูกปิดแล้ว ต้องรอวินิจฉัยละเอียดในวันรุ่งขึ้น
คืนนี้ต้องเป็นผู้ป่วยใน ก็ได้นอนที่โรงพยาบาล
นึกอีกที ผมยืนติดเตียงตลอดตั้งแต่เที่ยงถึงหกโมงเย็น
หลังเข้าเตียง เจาะเลือด พบแพทย์ ทานข้าว ทานยาแล้ว
และเห็นท่านเริ่มง่วงนอน เพราะท่านไม่ได้หลับกลางวันเลย
ก็ขอตัวพากันกลับบ้านไปพัก พรุ่งนี้ค่อนไปรบรากับโรคภัยกันใหม่
มีโอกาสติดต่อห้องพิเศษ ตอนทราบว่าต้องเป็นผู้ป่วยใน
แต่ห้องสำหรับเปิดจองห้องพิเศษปิดแล้ว ต้องติดต่อวันรุ่งขึ้น
การนอนห้องพิเศษ ก็มีปัจจัยเรื่องการดูแลที่ต้องเลือกอีกเช่นกัน
ตัดสินใจไม่ง่ายเลย
https://fopdev.or.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9/

สรุปได้ว่า
ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ก็จะต้องดูแลท่านต่อไป ตราบที่ผมยังมีลมหายใจ