แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพะเยา ของบ้านสันป่าส้าน ภูกามยาว, บ้านต๋อมดง, ต.ภูซาง, ต.แม่จั๊วะ ปง

แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น พะเยา
แลกเปลี่ยนกับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น พะเยา

19 ก.พ. 59 (6.30 – 20.00) ตามที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น
พัฒนางานวิจัยเรื่อง “แนวทางของการยกระดับองค์ความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่การใช้ประโยชน์
และการขยายผลในพื้นที่รูปธรรมทางการศึกษา ในปี 2557-2560”
โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
1. เพื่อต่อยอดการพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่ที่สอดคล้อง
กับการจัดการศึกษาท้องถิ่นในกลุ่มภาคีเครือข่ายทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
สำหรับเป็นข้อมูลในการประมวลความรู้สู่แนวทางการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดและพะเยา
2. เพื่อติดตามโครงการวิจัยที่ดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เกิดงานวิจัย
ที่มีคุณภาพ สามารถและสร้างการเปลี่ยนแปลง ในเชิงโครงสร้างของหน่วยงานการศึกษา
องค์ความรู้ และการเปลี่ยนแปลงของนักวิจัย
3. สังเคราะห์วิธีวิทยาในการหนุนเสริมกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่การบูรณาการ
ให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของกลุ่มเครือข่าย กศน.พื้นที่จังหวัดลำปางและพะเยา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1212393238774805.1073741986.506818005999002

แล้วก็มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดพะเยาร่วมกับเพื่อน ๆ รวม 7 คน
คือ ปุ๋ย บัญชา โบว์ ผศ.ดร.อภิชาติ ชิดบุรี ผศ.สันติ ช่างเจรจา ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย และและผม
ไปกันที่ กศน.พะเยา
ช่วงเช้า นายปัณณพงศ์ ท้าวอาจ ผู้อำนวยการ สนง.กศน.จ.พะเยา
ทำหน้าที่เปิดกิจกรรม และถ่ายรูปร่วมกัน
ท่านเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนในการทำกลุ่มย่อยเป็นระยะ
และให้การสนับสนุนการทำงานเต็มที่
ทั้งยังเป็นโครงการที่รวมกันระหว่าง กศน. และสกว.
1. ก่อนการทำงานเราประชุม เรามีการทำ Bar : Before Action Review
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินงาน เพราะแต่ละท่านก็มาจากต่างสถาบัน
http://blog.lib.kmitl.ac.th/?p=918
2. การนำเสนอโดยนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นจาก 4 พื้นที่
ครั้งนี้เป็นการนำเสนอของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นหน้าใหม่
สำหรับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยาจะแลกเปลี่ยนหลังนำเสนอ
และนักวิจัยทีม ม.ลำปาง จะแลกเปลี่ยนไม่มากนัก
เพราะต้องการให้ทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยาแสดงบทบาท
เราตกลงกันว่า ม.ลำปางจะทำหน้าที่เป็นเปลือกไข่
นักวิจัยเพื่อท้องถิ่นพี่เลี้ยงในพื้นที่พะเยา ทำหน้าที่ กำกับติดตามสนับสนุนใกล้ชิดกับพื้นที่
นักวิจัย ม.ลำปาง กำกับติดตามอยู่ห่าง ๆ
กลุ่มเฟส https://www.facebook.com/groups/1536974936614424/1552067021771882/
3. แยกกลุ่มตามพื้นที่ เพื่อช่วยดูการเขียนร่างข้อเสนอโครงการ
เรียงดังนี้
3.1 การเงิน – บ้านสันป่าส้าน ภูกามยาว – บุรินทร์
3.2 สุขภาพ – บ้านต๋อมดง – อภิชาติ
3.3 สหพันธ์แม่ญิ๊งลาว – ต.ภูซาง – สันติ
3.4 น้ำ – ต.แม่จั๊วะ ปง – สาวิตร
4. แต่ละโครงการ ออกมาสรุปว่าไปคุยกัน 2 ชั่วโมง ได้ผลเป็นอย่างไร
การปรับก็มีข้อเสนอในหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ
เช่น ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด รายละเอียดกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน การเชื่อมโยงเครือข่าย
ที่สำคัญคือทำให้ทีมวิจัยในพื้นที่ได้ร่วมกันคิด
ร่วมกันทบทวนกิจกรรมของโครงการโดยละเอียดอีกครั้ง
5. มีการทำ AAR : After Action Review นำโดย ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย
โดยเปิดให้ทุกคนสะท้อนคิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ จากการทำงาน
และพูดคุยแลกเปลี่ยน และวางแผนสำหรับการทำงานช่วงต่อไป
ต่อไปจะเข้าไปพิจารณาข้อเสนออีกครั้งในวันที่ 29 ก.พ.2559

ก่อนไปทำงาน ลงพื้นที่ คุณภัทรา มาน้อย
แขวนเอกสารเรื่อง “การฝึกทดลองการคิดอย่างเป็นระบบในชีวิตประจำวัน
เรียบเรียงโดย มกราพันธุ์ จูฑะรสก เมื่อวันที่ 18 ก.พ.59 ในกลุ่มเฟส

โครงการที่เข้านำเสนอครั้งแรกในกลไก ประกอบด้วย 4 โครงการ
1. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสะใภ้ลาว
หมู่ที่ 3,4,12 ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ให้มีการดำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติและเป็นที่รอมรับของชุมชน

โดย นายวสันต์ สุธรรมมา และนางสาวจิราพร  สุริวงศา

2. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและเพียงพอ
ของชุมชนบ้านจั๊วะ หมู่ 10 ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา

โดย นางสาวลีลาวดี สีหบัณฑ์ และนายกิตติธัช สวนดอก

3. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการจัดการการเงินในระดับครัวเรือน
บ้านสันป่าส้าน หมู่ 12 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โดย นางวารณี วิชัยศิริ และนายประเสริฐ รูปศรี

4. ร่างชื่อเรื่อง “แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
บ้านต๋อมดง หมู่ 6 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

โดย นายแดนชัย ชอบจิตร และนายพรเกษตร วงศ์ปัญญา