คิออและ

7 ต.ค.53 หลายเดือนผ่านมา ไม่มีอะไรมากดดันให้ต้องเชื่อมแฟ้มข้อมูล ของผู้ใช้ในองค์กร เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลทุกระบบอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่เดือนนี้มี ฐานข้อมูล 2 ระบบเข้ามากดดันแนวทางการพัฒนาที่ต้องชัดเจน คือ ฐานข้อมูลภาระงาน และฐานข้อมูลประกันคุณภาพ ซึ่งแต่ละระบบเคยออกแบบให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลแบบแยกส่วน ไม่มีการบูรณาการที่จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าทำงานครั้งเดียวแต่เชื่อมทุกระบบได้ และระบบที่เคยออกแบบไว้ยังเข้าถึงผู้ใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

โอกาสที่ทำให้คิดเรื่องนี้ คือ การยกเครื่องระบบฐานข้อมูลประกันคุณภาพที่ถูกบังคับโดยสกอ. การยกเครื่องระบบบ่อยครั้ง ทำให้มองเห็นโอกาสที่จะเชื่อมแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้เข้ากับทุกระบบก็มาถึง .. อีกโอกาส คือ บุคลากรเคยชินกับการใช้งานระบบ e-document ที่เก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก หากต่อยอดระบบนี้ ก็จะทำให้การเชื่อมเข้ากับ ภาระงาน ยุทธศาสตร์ หรือประกันคุณภาพ ได้รับการยอมรับ และคุณธรณินทร์ ก็ถามถึงการ upgrade core system ของระบบ e-document อยู่เสมอนั่นเอง อีกโอกาส คือ อ.ทันฉลอง อธิการบดีคนใหม่ ให้ความสำคัญกับข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เป็นการสนับสนุนที่สำคัญที่ทำให้ผมกล้าคิด กล้าก้าวต่อไป .. บนแนวคิดบูรณาการระบบฐานข้อมูล

สรุปแนวคิด คือ 1) บุคลากรส่งแฟ้มข้อมูลเข้า e-document ตามปกติ 2) คลิ๊กเลือกแฟ้มที่ต้องการกำหนดเป็นแฟ้มอ้างอิงแล้วยืนยัน 3) หลังถูกกำหนดเป็นแฟ้มอ้างอิง จะมีตัวเลือกฐานข้อมูล (ภาระงาน ประกันคุณภาพ ยุทธศาสตร์ หรือฐานข้อมูลอื่นใด) ให้สร้างการเชื่อมโยงตามลักษณะของแต่ละฐานข้อมูล และถูกอ้างอิงในรูปแบบที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ

แนวคิดนี้ต้องขายให้ทีมพัฒนา .. และดูว่าจะมี comment อะไร ที่จะทำให้การพัฒนาระบบมีการเชื่อมโยงแฟ้มของผู้ใช้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลได้โดยสะดวกที่สุด

ติดตั้ง AVG Anti-Virus เป็น 1 ใน 3 ที่ศึกษา

avg
avg

6 ต.ค.53 ทดสอบ Free Anti-Virus ของ AVG จาก free.avg.com ขนาดของ installer ที่ Download ได้มีเพียง 4 MB แต่ขณะติดตั้งมีการ Download จากอินเทอร์เน็ตกว่า 106 MB  สรุปว่าถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ตก็จะใช้ตัวนี้ไม่ได้สำหรับรุ่นฟรี แต่ถ้าเป็นร่มแดงตัวที่ Download มามีขนาด 30 MB และโปรแกรมของ Avast ก็ประมาณ 40 MB ซึ่งใหญ่พอทำงานได้แล้ว ในการติดตั้ง AVG นั้น เดิมผมใช้ Antivir.com หรือร่มแดง ก่อนติดตั้ง AVG ต้อง uninstall ร่มแดงก่อน เพราะมีการตรวจสอบ และไม่สามารถลง 2 ตัวได้ .. รอประมาณครึ่งชั่วโมงก็ติดตั้งแล้วเสร็จ เมื่อเสร็จแล้วจะ Update Signature ใหม่ของไวรัส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมในการจัดการไวรัสพันธุ์ใหม่อย่างมีประสิทธิผล ..  เมื่อลองทำให้เครื่องติดไวรัส Hakaglan.i worm หรือ Worm/Autoit.L ก็พบว่า AVG จัดการได้ครับ .. น่าเรียนรู้อีกโปรแกรมหนึ่ง
http://www.thaiall.com/download

แก้ไข windows time ผ่าน gpedit

6 ต.ค.53 พบว่า tab ของ windows time เมื่อ double click เวลาของเครื่อง แล้วเลือก update เวลากับ time.windows.com แต่พบข้อความว่า The computer did not resync because no time data was available. และการดำเนินการข้างต้นก็ล้มเหลว

แก้ไขโดยเข้า cmd, gpedit.msc, Computer Configuration , Administrative Templates , System , Windows Time Service ให้กำหนด  Global Configuration Settings เป็น  Not Configured ส่วน Time Providers, Enable Windows NTP Client และ  Configure Windows NTP Client ก็กำหนดเป็น Not Configured แล้วเข้า cmd, gpupdate /force ก็จะใช้บริการ update now ของ windows time ได้ตามปกติ

กำหนด internet time ให้กับ fedora

5 ต.ค.53 พบว่าเวลาของเครื่องบริการ ไม่ได้ผ่านบริการ NTP ทำให้คลาดเคลื่อนไปบ้าง จึงใช้ #service –status-all พบว่า ntpd is stopped แล้วสั่ง #/etc/init.d/ntpd start แต่เวลาก็ยังเร็วกว่าปกติ จึงสั่ง sync ด้วย #ntpd -b แล้วตรวจด้วย #date ก็พบว่าเวลาที่ได้ตรงกับเครื่องบริการทุกเครื่องที่มีอยู่ และตรงกับเวลาสากล
ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ในส่วนของนิยามที่ว่าด้วย “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” และชัดเจนตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐  ในข้อ ๙ “เพื่อให้ข้อมูลจราจรมีความถูกต้องและนํามาใช้ประโยชน์ได้จริง ผู้ให้บริการต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิง สากล (Stratum 0) โดยผิดพลาดไม่เกิน ๑๐ มิลลิวินาที”
http://www.thaiall.com/article/law.htm

คัดลอกหนังจาก facebook

firefox cache
firefox cache

3 ต.ค.53 ได้คลิ๊ปเด็ดจาก facebook.com แล้วเปิดด้วย ie6 เพราะหาห้อง temp ได้ง่าย แล้วพบแฟ้มหนังสกุล .mp4 จึงใช้ total video converter แปลงเป็น .mpg แล้วนำเข้าไปตัดต่อด้วย proshow producer เพื่อซ้อนข้อความเข้าไปในเรื่อง และรวมเป็นเรื่องเดียวกัน

ถ้าใช้ firefox ผมจะเข้า dos แล้วพิมพ์ cd “%userprofile%/local settings/application data/mozilla/firefox/profiles” จากนั้นก็พิมพ์ explorer .. แล้วคลิ๊ก profile , …default, cache ก็จะรายชื่อแฟ้มที่ถูกเปลี่ยนไปแล้ว ไม่อาจทราบชื่อเดิม หรือสกุลเดิมของแฟ้ม เมื่อมองด้วยตาเปล่า แต่ถ้าทราบอยู่แล้ว ก็นำมาแปลงได้เลย

เครื่องบริการดับไปพร้อมไฟฟ้า

3 ต.ค.53 ตรวจบริการเว็บไซต์ที่ใช้สื่อสารในองค์กร พบว่าวันนี้วันอาทิตย์มีเว็บไซต์หายไปหลายเว็บไซต์ ต้นเหตุเกิดจากไฟฟ้าดับเมื่อคืน จึงเดินทางไปที่ตั้งเครื่องบริการ ซึ่งมี 6 เครื่อง พบว่า เครื่องบริการ 3 เครื่องรุ่นเดียวกัน ดับอยู่ทั้ง 3 เครื่อง เมื่อเปิดแล้วก็พบว่าไฟฟ้าไม่เข้า มีอาการเหมือนกันทั้ง 3 เครื่อง คือ ไฟไม่เข้า ก็แปลกใจ เพราะปลั๊กไฟเสียบอยู่ปกติ จะมีใครไปขยับทั้ง 3 จุดก็คงเป็นไปไม่ได้

ตรวจปลายสายก็ไม่พบความผิดปกติ จึงดึงสายไฟออกแล้วเสียบเข้าใหม่ ทดลองทำอย่างนี้ 3 รอบ ก็พบว่ารอบที่ 3 ไฟฟ้าเข้าแล้ว จึงไปกดปุ่ม power on ได้ เมื่อแก้ปัญหากับเครื่องแรกเสร็จ ก็สงสัยว่าอีก 2 เครื่อง เป็นปัญหาเดียวกันหรือไม่ แล้วก็พบว่าปัญหาเดียวกัน คือแต่ละเครื่อง ต้องเสียบเข้า ดึงออก 3 รอบ ไฟฟ้าจึงจะเข้าเครื่องตามปกติ .. สำหรับแล้วรู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลกที่น่าจะแก้ไขได้ คงต้องหารือกับผู้รู้ด้านไฟฟ้าในวันรุ่งขึ้น

เครื่องมือในการสื่อสารระหว่างระดับ

ีืuniversity talking
ีืuniversity talking

2 ต.ค.53 มีโอกาสได้คุยกับนักวิชาการท่านหนึ่ง เราหารือกันเรื่องการสื่อสารโดยใช้ social networking website โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วยกับการหวังผลจาก SNW เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มกับทรัพยากรที่จะลงไป หากหวังจะใช้ facebook.com เป็นพระเอกสำหรับการสื่อสาร .. ในเวลาต่อมาก็คิดได้ว่า การสื่อสารนั้นต้องมีเป้าหมาย มีผู้เกี่ยวข้อง มีสาร และมีสื่อ เพราะผู้ใหญ่ในคณะก็เคยชี้ประเด็นมาแล้ว  และผมก็นำเสนอปัญหาการสื่อสารให้ผู้บริหารระดับสูงฟังแล้ว สรุปว่าประเด็นปัญหาน่าจะอยู่ที่เครื่องมือ หรืออยู่ที่ผู้ใช้เครื่องมือ หรือมากกว่านั้น

ตัวอย่างหนึ่ง : เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า จะไม่รับเพื่อนที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพราะไม่คิดจะคุยเรื่องงานผ่าน fb และนั่นเป็น เหตุผลที่เขาไม่รับผมเป็นเพื่อน แม้เราจะสนิทกัน แต่วัตถุประสงค์การใช้งานต่างกัน ตัวอย่างสอง : เพื่อนคนหนึ่งเคยรับผมเป็นเพื่อน ต่อมาเขาตัดผมออกจากรายชื่อเพื่อน เพราะไม่อยากรับรู้เรื่องในองค์กร .. แล้ววันหนึ่งเขาก็รับผมเป็นเพื่อนใหม่ ด้วยความจำเป็นบางประการ โดยใช้วิธีสมัคร account ใหม่ ตัวอย่างสาม : เห็น yoso account มีเพื่อนมากกว่า 3000 คน โดยมีเพื่อนเข้ามา post ทำธุรกิจ mlm หรือถามว่า ชื่ออะไร น่ารักจัง .. ก็คิดว่าคงสำเร็จในการใช้รูปเด็กน่ารัก เป็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ตัวอย่างสี่ : ข้อมูลที่ส่งเข้าไปใน fb ถ้าไม่ tag อาจไม่มีใครเห็นข้อความที่เรา post เข้าไปเลย .. ถ้า tag อย่างไม่มีเหตุผลอาจถูกลบออกจากรายชื่อเพื่อน หรือถูกถามย้อนกลับมาว่า มีฉันอยู่ตรงไหน ในภาพนั้น

ปัญหา คือ ความไม่อยากสื่อสาร อยากอยู่เฉยเฉย เพราะการไม่รับรู้ก็จะไม่ต้องรับผิดชอบ อาทิ การรับรู้ว่าดื่มสุราแล้วจากไปก่อนวัยอันควร บรรดานักดื่มย่อมไม่นิยมฟังฉันท์ใด การมีสารสนเทศไหลในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพก็ย่อมเป็นภาระกำหนดให้คนมีงานทำฉันท์นั้น เพราะรับรู้บทบาทของตนผ่านสารสนเทศที่ไหลวนในระบบการสื่อสาร แต่การไม่รับรู้อะไรย่อมไม่ต้องรับผิดชอบใดใด ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น .. เรื่องนี้ผมพูดให้เพื่อนคนหนึ่งฟัง แล้วเขาก็ว่าผมกล้าพูดตรง .. อันที่จริง ผมพูดถนอมน้ำใจท่านผู้นั้นอย่างมาก  เพราะถ้าผมพูดตรง มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม รับความคิดผมไม่ได้แน่นอน

ดึงลิงค์ของภาพไปสร้าง gallery

yonok alumni gallery
yonok alumni gallery

29 ก.ค.53 คัดลอกลิงค์ภาพจาก facebook.com ไปเข้าฐานข้อมูล แล้วเผยแพร่บนเว็บไซต์ภายนอก เพราะ fb ยอมให้ link ภาพออกไปแสดงได้ ทำให้สร้าง gallery ที่ดึงภาพจาก profile ของศิษย์เก่าไปรวมเป็นระบบ gallery แล้ว link กลับมายังเจ้าของภาพได้ ทดสอบที่ http://www.thaiabc.com/ynalumni/photo.asp
วิธีการ คือเขียน code อ่านข้อมูลจาก .mdb แล้วปรับการแสดงผลด้วย css ซึ่งจัดระเบียบภาพได้ยอดเยี่ยม ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงเสียเวลาจัดการอีกพักใหญ่ ส่วนการรวมภาพผมใช้การคัดลอกที่ตั้งของภาพแต่ละภาพใน facebook มาวางไว้ในช่องที่เตรียมไว้ เมื่อกดปุ่ม upload ก็จะเพิ่มลิงค์นั้นเป็นระเบียนข้อมูลใหม่ใน .mdb ทำให้ code ที่เขียนด้วย .asp สามารถนำข้อมูลมาแสดงผลในรูป gallery หน้าละ 15 ภาพต่อหน้า ใต้ภาพจะมี link ไปยังเจ้าของภาพใน facebook เป็นการแนะนำให้รู้จักเพื่อนใน facebook อีกทางหนึ่ง .. แต่ปัญหาเรื่องสิทธิ์ของภาพ ยังต้องถกกันนิดหน่อยกับเจ้าของภาพ ถ้าผมจะคัดลอกภาพใครมาวางไว้ใน gallery คงต้องคุยกับเข้าซะก่อน มิเช่นนั้นอาจพบปัญหาในภายหลัง .. ขณะนี้มีภาพทดสอบเพียง 37 ภาพ จาก 3 account

รายงานที่ทำให้สมาชิกเกิดความตระหนักเรื่องโควตา

quota of firewall
quota of firewall

26 ก.ย.53 มีเหตุที่ทำให้เพื่อนร่วมงานของผมสามารถบริหาร bandwidth ในองค์กรได้อย่างสมเหตุสมผล ผ่านนโยบายกำหนดโควตารายบุคคล โดยการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ใช้ผ่าน facebook.com ว่า การอยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่เอารัดเอาเปรียบกันนั้น จะทำให้ทุกคนได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร ด้วยการนำเสนอภาพข้อมูลสถิติการใช้งานที่มีผู้ใช้ใช้งานถึงเพดานที่จำกัดไว้ (โควตา) คือ 500 MB ต่อวัน ถ้าทุกคนเข้าใจ และมีพฤติกรรมการใช้อย่างสมเหตุสมผล เพดานที่กำหนดไว้ก็สามารถขยายออกไปได้ เพราะต่อไปหวังว่าภาพรวมของการใช้งานเครือข่ายจะไม่เต็ม 100% เหมือนที่ผ่านมา ก็หวังว่าทุกคนจะเข้าใจ และไม่มีใครหาวิธีออกนอกลู่นอกทาง เพื่อใช้สิทธิ์ที่ตนพึงมีเกินสิทธิ์ที่ตนพึงมีในแต่ละวัน

หลักการและเหตุผล ของ NCAC2010

National Cybersecurity Awareness Contest
National Cybersecurity Awareness Contest

24 ก.ย.53 โลกไซเบอร์ในปัจจุบันมีภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศหลากหลายรูป แบบและมีเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มีผลกระทบต่อองค์กรและที่เป็นส่วนบุคคล การป้องกันในมุมมองด้านกระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) ไม่เพียงพอ เพราะจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด คือ “คน” (People) ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องรู้เท่าทันภัยต่าง ๆ ได้ทั้งในเชิงป้องกัน (preventive) และเชิงปรับปรุงแก้ไข (corrective)
ดังนั้น จุดเริ่มและเป็นจุดสำคัญที่สุดในการเสริมสร้างทักษะหรือความรู้ หรือติดอาวุธทางปัญญาให้กับ “คน” เพื่อให้รู้เท่าทันภัยและสามารถต่อกรกับภัยคุกคามได้อย่างเป็นผล คือ การสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Awareness) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ การอบรม เป็นต้น
การสร้างความตระหนัก (Security Awareness) เป็นมูลฐานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโลกไซเบอร์ ยิ่งมีความตระหนักได้เร็ว ได้ก่อน ได้ทัน ก็จะยิ่งเป็นการป้องกันภัยได้ดีกว่าจะต้องไปทำการแก้ไขเมื่อเกิดผลร้ายของ เหตุการณ์ การริเริ่มให้มีความตระหนักสำหรับกลุ่มเป้าหมายวัยศึกษาจะเป็นการบ่มเพาะที่ ดี ขณะที่การสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มคนวัยทำงานก็จะเป็นการช่วยให้การใช้ งานระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร
http://www.cdicconference.com/ncac2010/ncac2010.htm