การปรับใช้ตัวแบบทูน่า (Tuna model) ในการพัฒนาระบบ

tuna model
tuna model

ตัวแบบทูน่า (Tuna model) โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550: 21-26)
เป็นตัวแบบหนึ่งของการจัดการความรู้
ที่ผมนำมาประยุกต์ และเพิ่มระบบย่อยเข้าไปในแต่ละส่วน ให้เป็นตัวแบบที่ใช้อธิบาย
การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร โดยใช้ตัวแบบทูน่า
ซึ่งตัวแบบกำหนดเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก ส่วนกำหนดทิศทาง (Knowledge Vision)
1. วิสัยทัศน์/นโยบาย (Vision)
2. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ (Indicator)
3. แผนปฏิบัติการ (Plan)
4. จัดสรรทรัพยากร (Resource)
ส่วนที่สอง ส่วนแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน (Knowledge Sharing)
1. กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Group Discussion)
2. วิเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Analysis)
3. ฝึกใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Practice)
4. สังเคราะห์ แล้วแบ่งปัน (Synthesis)
ส่วนที่สาม ส่วนสะสม (Knowledge Asset)
1. รวบรวมความรู้เข้าคลัง (Collection)
2. จัดการความรู้ (Management)
3. ประเมินความรู้ (Evaluation)
4. เผยแพร่ความรู้ (Sharing)
และมีการไหลของวิสัยทัศน์จากหัวปลาไปหางปลา
ซึ่งผู้บริหารกำหนดวิสัยทัศน์ในแบบ (Top-Down Direction)
และมีการไหลของความรู้ขึ้นมาจากหางปลาไปสู่หัวปลา
ซึ่งความรู้ถูกเรียกใช้ขึ้นมาจากทุกระดับ (Bottom-up Direction)

โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ผมสนใจคือ
งานของ คุณณัฐพล สมบูรณ์ ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อสร้างระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application) ขึ้นมาใช้งานภายในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อรองรับในส่วนของการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปแบบเว็บไซต์เพื่อให้ง่ายในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อศึกษาหาความรู้ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา ข้อผิดพลาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
พบ paper นี้ใน thailis

http://aikik.blogspot.com/2011/01/model-knowledge-mangement.html

จาก blog ของ Aikik
นำเสนอว่า บุคคลที่ดำเนินการจัดการความรู้
บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการความรู้นั้น มีดังนี้

1.  ผู้บริหารสูงสุด (CEO)
องค์กรใดที่ผู้บริหารสูงสุดเห็นคุณค่า และความสำคัญของการจัดการความรู้ องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้อย่างแน่นอน
2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) การริเริ่มการเรียนรู้ที่แท้จริงจะอยู่ที่คุณเอื้อ โดยคุณเอื้อต้องมีหน้าที่นำหัวปลาไปเสนอให้กับผู้บริหารสูงสุด จนยอมรับหลักการ หลังจากนั้นก็ดำเนินการร่วมกับบุคคลอื่น คอยเชื่อมโยงหัวปลา เข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ขององค์กร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
3. คุณอำนวย (Knowkedge Facilitator, KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เป็นคนจุดประกายความคิดและเป็นนักเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ) กับผู้บริหาร (คุณเอื้อ), ผู้ปฏิบัติต่างกลุ่มในองค์กร และเชื่อมโยงการจัดความรู้ภายในกับภายนอกองค์กรอีกด้วย โดยอาจจัดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดตลาดนัดความรู้, จัดการดูงาน, จัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
4. คุณกิจ (Knowledge Practitioner, KP) เป็นผู้ปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ร้อยละ 90 – 95 และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุ

เพื่อนบ่นเรื่องส่งจาก gmail.com มาถึง inbox ช้า

อยากรู้ไหมครับว่า อีเมลที่มาถึงเรา แวะเอ้อระเหยลอยชายบนท้องฟ้าอยู่กี่ชั่วโมง
ตรวจสอบได้นะครับ ไม่ต้องนับเองด้วย

google app delay
google app delay

ไปค้นดู ก็พบเพื่อน ๆ พบปัญหากันเพียบ
ที่องค์กรของผมก็พบปัญหากันเพียบ
วิธีตรวจสอบ
1. เปิดอีเมล คลิ๊ก สามเหลี่ยมมุมบนขวาของอีเมล
2. เลือก  show original ของอีเมลที่ส่งสัยว่า delay
3. คัดลอกส่วนบน ๆ ของ header
4. นำที่คัดลอกไปวางในช่องบริการของเว็บไซต์ข้างล่างนี้
https://toolbox.googleapps.com/apps/messageheader/

5. จะเห็นว่า email ของเรา วิ่งไปยัง smtp ตัวใด และตัวใดทำให้เกิด delay
แต่นี่เป็นระบบอัตโนมัติ ส่งเมลแต่ละครั้งเลือกเส้นทางไม่ได้นะครับ

นี่เป็นบริการวิเคราะห์ header ของ google.com เอง
พบว่าอีเมลตามภาพนี้ ช้าไป 13 ชั่วโมง สรุปว่าทำอะไรไม่ได้ครับ
แล้วแต่ดวงเลย เพราะทดสอบมาแล้วพบกรณี delay ดังนี้
1. ส่ง 3 ฉบับติดต่อกัน  ฉบับสุดท้ายอาจถึงก่อน ส่วนฉบับแรกอาจมาในวันรุ่งขึ้น
2. จะมี attach หรือไม่มีก็ไม่ใช่ประเด็น ช้าหรือเร็ว ไม่เกี่ยวกับ attach
3. ส่งเข้า mail group แต่ตอนไปถึงแต่ละคน ก็ถึงไม่พร้อมกัน
4. บางทีทดสอบ 10 ฉบับ ก็ไปถึง inbox ของเพื่อนในเวลา 3 นาที ทุกฉบับก็มี
สรุปว่าเป็นของฟรีที่คนใช้เยอะ และเราก็คุมไม่ได้ ที่ทำได้คือต้องทำใจครับ
อ้างอิงจาก
http://www.labnol.org/internet/email-delivery-delayed/25922/

google.com อธิบายเรื่องนี้ พร้อมให้ตัวเลขมาด้วยว่า
ปัญหานี้จะเกิดแค่ 29% อีก 71% ไม่พบปัญหา
เพราะพยายามกันเต็มที่แล้ว
เฉลี่ยแล้ว delay 2.6 วินาที
และมี 1.5% ที่ delay เกิน 2 ชั่วโมง
Posted: Tuesday, September 24, 2013
http://gmailblog.blogspot.com/2013/09/more-on-gmails-delivery-delays.html

อีกมุม จากเรื่องยอบรับได้ไหม ว่าเด็กจบวิทย์คอมตกงานเพราะอาจารย์ห่วย

แล้วคุณเลือกภาษาไทยกันหล่ะครับ
แล้วคุณเลือกภาษาไทยกันหล่ะครับ

ภาพนี้ได้จากโพสต์ในพันทิพย์
เรื่อง “ยอบรับได้ไหม ว่าเด็กจบวิทย์คอมตกงานเพราะอาจารย์ห่วย
ผู้เขียนชื่อ ทาสเทวี เขียนได้ดีมาก สะท้อนจากผู้เป็นอาจารย์ที่รู้ลึกรู้จริง
บอกว่าเคยพบเด็กพูดว่า
พี่ครับ จบไปผมก็ไม่ได้ใช้ ผมไม่ทำงาน นี้หรอก เหนื่อย
แต่ผมชอบภาพประกอบครับ เพราะถ้าคิดตามโพสต์แล้วเหนื่้อยใจ
http://pantip.com/topic/32323444
ภาพนี้ชวนให้ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละภาษา
บรรทัดแรกถามว่า “คุณจะเลือกใช้ภาษาไหน
คนแรกเสนอว่า perl ยืดหยุ่น ปรับได้ง่าย
คนที่สองเสนอว่า c++ เร็ว และทรงพลัง
คนที่สามเสนอว่า delphi ประณีต โครงสร้างสวยงาม
คนที่สี่เสนอว่า vb ใคร ๆ ก็เขียนได้
คนที่ห้าเสนอว่า c# จัดการง่าย และทันสมัย
ข้อโต้แย้ง
หนึ่ง – แต่อยู่นอกเหนือการควบคุมอย่างรวดเร็ว
สอง – แต่ขี้เหล่ และไม่ปลอดภัย
สาม – แต่ดีในอดีต ดูวันที่ขายด้วย
สี่ – แน่ใจนะว่าต้องการจริง ๆ
ห้า – แต่มาพร้อมราคานะ
บรรทัดสุดท้าย  “เลือกที่ใช่อันเดียวสำหรับงาน คือ ภาษาจาวา

การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษาปีการศึกษา 2557

ผู้รับผิดชอบฐานข้อมูลด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย
ผู้รับผิดชอบฐานข้อมูลด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย

25 ก.ค.57 ร่วมประชุมการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษาปีการศึกษา 2557
ณ โรงแรม อมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก
มีวัตถุประสงค์การประชุมดังนี้
1. เพื่อชี้แจงให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนมีความเข้าใจการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557 และนำเสนอระบบการนำส่งข้อมูลเข้าคลังข้อมูลอุดมศึกษา
2. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนเกิดความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอุดมศึกษา
3. เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการพัฒนาข้อมูลอุดมศึกษาให้สอดคล้องตามมาตรฐานข้อมูลกลางของกระทรวงศึกษาธิการ

ได้รับฟังนโยบายการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา โดย น.ส.นิติมา  จิตต์จำนง ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศอุดมศึกษา ที่เล่าถึงการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยข้อมูลที่กลุ่มงานนี้ดูแลประกอบด้วย ข้อมูลรายบุคคลนักศึกษา ข้อมูลรายบุคคลบุคลากร ข้อมูลรายบุคคลผู้สำเร็จการศึกษา ข้อมูลหลักสูตร และข้อมูลการเงินอุดมศึกษา
ข้อมูลทั้งหมดเชื่อมโยงผ่านระบบอินเทอร์เน็ตให้บุคคลทั่วไปเข้าดูข้อมูลสรุปภาพรวมของประเทศ และมหาวิทยาลัยจะส่งข้อมูลแต่ละรอบเข้าสู่ระบบ มีโฮมเพจที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. คลังข้อมูลอุดมศึกษา
http://www.data3.mua.go.th/dataS/
2. สารสนเทศสำหรับบุคคลทั่วไป
http://www.info.mua.go.th/information/
3. บริการสืบค้นข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไป
http://www.gotouni.mua.go.th/
4. บริการบันทึกข้อมูลสำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
http://www.gotouni.mua.go.th/gotouniV2/
http://www.gotouni.mua.go.th/index_staff.php
5. เว็บไซต์ที่เผยแพร่รายงาน
http://www.data3.mua.go.th/dataS/web_reports.php

schedule
schedule

ผู้นำเสนอด้านต่าง ๆ ในกลุ่มสารสนเทศอุดมศึกษา
1. น.ส.นิติมา จิตต์จำนงค์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศอุดมศึกษา
2. น.ส.ธารีณี  พฤกษ์พนาเวศ ข้อมูลรายบุคคลนักศึกษา
3. นายขจรศักดิ์  จิตต์อารีย์เสถียร ข้อมูลรายบุคคลบุคลากร
4. น.ส.ภัทรกันย์ จันทร์หอมไกล ข้อมูลรายบุคคลผู้สำเร็จการศึกษา และภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
5. ว่าที่ร้อยตรีหญิงประภาศรี พุดศรี ข้อมูลหลักสูตร
6. นางสุภาพรณ์ ดอกแก้วดี ข้อมูลการเงินอุดมศึกษา

รวมเอกสาร PDF ที่แจกในการประชุมชี้แจง
การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557
https://www.facebook.com/download/1460691054189550/doc_meeting_db_mua_570725.rar

ตารางข้อมูลอ้างอิง ระบบภาวะการมีงานทำ
ที่แจกในการประชุมชี้แจง
การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557
https://www.facebook.com/download/800929549927110/REF_UOC_questionnaire_570725.rar

ตารางข้อมูลอ้างอิง ระบบข้อมูลนักศึกษา บุคลากร การเงิน ผู้สำเร็จ
ที่แจกในการประชุมชี้แจง
การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557
https://www.facebook.com/download/329480910562626/REF_UOC_STD_STAFF_GRD_FINANCE_570725.rar

ภาพใน fb album
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10152541757908895.1073741843.814248894

คำสั่งเรียก guest ที่เป็น win7 บน win8

virtualbox has host and guest
virtualbox has host and guest

27 ก.ค.57 การใช้งาน virtual box เพื่อติดตั้งหลาย os
ถ้าติดตั้ง win8 เป็น host แล้วติดตั้งระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็น guest
ทำให้เรียกใช้ระบบปฏิบัติการอะไรก็ได้ในเครื่อง ทั้ง windows, linux หรือ mac
กรณีตัวอย่างในภาพนี้ ติดตั้ง win7 เป็น guest
ก็ใช้คำสั่งข้างล่างนี้สร้างเป็น batch file แล้วนำไปวางใน startup
“C:\Program Files\Oracle\VirtualBox\VBoxManage” startvm “win7”

ขั้นตอนการวาง batch file ใน startup บน win8
1. windows+R
2. %appdata%
3. เข้าไปที่ microsoft\windows\start menu\programs\startup
4. นำ batch file ไปวางใน startup ได้แล้ว
ทุกครั้งที่เปิดเครื่องก็จะเรียก guest ขึ้นมาทำงานทันที ไม่ต้องไปคลิ๊กอีก
เพื่อเปิด guest เป็น webserver และเปิด network เป็น bridge
คราวหน้าจะเข้า folder นี้ให้ไวขึ้นก็ทำ pin ไว้ก็ได้ครับ

การสั่งปิดเครื่องใน windows 8 และ 8.1

shutdown for win8
shutdown for win8

ปัจจุบัน พบว่าการสั่งปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ได้พัฒนาไปมากกว่าที่คาดไว้
จึงต้องกลับมาปรับให้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตามที่ผมคาด
1. แก้ให้ปิดได้จริง
เพราะการสั่ง shutdown ใน windows 8
กำหนด default ให้ปิดไม่จริง เหมือนเครื่อง tabletpc
การปิดก็เหมือนการ sleep และจะตื่นขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปกติจะเป็นแบบ Turn on fast startup (recommended)
ถ้าต้องการให้ปิดจริง แต่อาจตื่นได้ช้า ก็ต้องไปยกเลิก checkbox
ทั้ง 4 ตัวเลือกใน Shutdown settings
แต่ถ้าใช้ windows 8 บน tabletpc ก็ไม่ต้องแก้ไขนะครับ
เพราะเป็น option ที่เหมาะกับอุปกรณ์เหล่านั้น

2. ปุ่มปิดอยู่ลึกไป
โดยทั่วไปต้องไปที่ right slide เลือก settings, Power, Shutdown
จึงจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านบริการปิดเครื่องทางซอฟท์แวร์
ซึ่งผมมักกดปุ่ม power ที่เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งครั้ง ซึ่งเป็นบริการทางฮาร์ดแวร์
แต่คนในบ้านไม่ชอบ เกรงว่าจะพังเร็ว  จึงต้องสร้างปุ่มปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ผ่าน icon บน desktop โดยใช้คำสั่ง shutdown.exe
ที่อยู่ใน c:\windows\system32
แล้วใช้ parameter /s ดังภาพ
และป้องกันการเผลอกด จึงใช้คำสั่ง pause ขั้นไว้

ทั้งหมดนี้ฟังเขาเล่ามา จึงนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป

การวิเคราะห์ แล้วก็การสังเคราะห์

การสังเคราะห์ synthesis

25 ก.ค.2557 หัวหน้าเช ส่งอีเมลมาแจ้งว่ากัลยาณมิตรแนะนำว่า เวลาทำอะไรที่มีเป้าหมายสูงสุดชัดเจน ก็ควรจะมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ว่าที่ทำลงไปน่ะถูกแล้วรึเปล่า วิเคราะห์หา swot ด้วยก็จะดี แล้วก็นำมาทำให้ต่อเนื่อง กลับมาดูความหมายของการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ที่แรกอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้ง strategic plan, action plan, identity(เอกลักษณ์) uniqueness (อัตลักษณ์) หรือ aim (เป้าหมาย)

ในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น เห็นเพื่อน ๆ ใช้การจัดเวทีคืนองค์ความรู้สู่ชุมชน
เรียกว่า การสังเคราะห์
ในการเขียนรายงานการวิจัยบทที่ 5 ก็เป็นการสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่
เรียกว่า การอภิปรายผล
ในการทำงาน ด้วยการนำงานต่าง ๆ มาบูรณาการให้ได้งานใหม่ที่มีประโยชน์และเผยแพร่ได้ก็
เรียกว่า สังเคราะห์

การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C

การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม ส่วนคำว่า thesis แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งการสังเคราะห์ หมายถึง กระบวนบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกัน เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือเกิดปรากฏการใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาภาพ โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่กระบวนบูรณาการในการสังเคราะห์นั้น บางปัจจัยอาจจะได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อนแล้ว ขณะที่บางปัจจัยก็อาจจะยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อน สภาวะรูปของปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาเป็นปัจจัยและองค์ประกอบในการสังเคราะห์นั้นอาจเป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งบูรณภาพที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อันเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้น ก็เป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมเช่นกัน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C

ภาพตัวอย่างได้จากเว็บไซต์ข้างล่างนี้
แต่ผมเข้าไปแล้วเขาบอกว่า จากประเทศไทยไม่ยินดีต้อนรับ
http://www.wilmington.will.k12.il.us/blog/wmcgee/?p=497

gateway filter


คำว่าแผนยุทธศาสตร์ (Strategic plan) มีแนวการเขียนที่ดี
ที่ http://plan.rmutsb.ac.th/plan/data_information/file/4_SI_135.pdf

คำว่า แผนปฏิบัติการ (Action Plan) มีแนวการเขียนที่ดี
ที่ https://dpl.wu.ac.th/strategy_actionplan/

ต่อไปต้อง Format Flash Drive เป็น NTFS ซะแล้ว

vmdk of virtual box
vmdk of virtual box

เล่าสู่กันฟัง 21 ก.ค.2557
วันนี้ตรวจรายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2556 ของเพื่อน
ว่าใน ส.1 กับในเล่มตัวเลขตรงกันหรือไม่
หลังตรวจเสร็จก็นึกได้ว่าที่ทำงานลง Linux Mint13
บน Virtual Box ใน Win7
อยากนำแฟ้ม vmdk กลับบ้านไปติดตั้ง
บน  Virtual Box ใน Win 8.1 preview – 9385 ที่บ้าน
พบว่า ขนาดของ vmdk ใหญ่เกิน 4 GB
คัดลอกลง Flash drive ที่กำหนด file format เป็น FAT32 ไม่ได้
เพราะมาตรฐาน Fat32 รองรับขนาดแฟ้มไม่เกิน 4 GB

วิธีแก้ไข ..
จะเปลี่ยน File Format ของ Flash Drive ก็ไม่คุ้ม
เพราะมีแฟ้มเก่าใน Flash Drive เพียบเลย
มี 3 ทางเลือกที่จะขนแฟ้ม 4 GB กลับบ้านสำหรับวันนี้
1. วางไว้บน ftp server แล้วใช้ ftp download จากบ้าน
2. ใช้ Winrar ลดขนาดให้เล็กกว่า 4 GB แล้วค่อยคัดลอกลง Flash drive
3. ใช้ Winrar แยก vmdk เป็น zip ตัวเล็ก ๆ ประมาณ 700 MB
แล้วค่อยคัดลอกลง Flash drive

สรุปว่า .. ผมเลือกวิธีที่ 2
และเป็นบทเรียนว่า ถ้าได้ Flash drive มาใหม่
ที่ขนาดใหญ่กว่า 4GB
มีข้อเสนอแนะว่าควร Format เป็น NTFS ก่อนใช้งาน
ป้องกันการคัดลอกแฟ้มขนาดใหญ่ลง Flash drive ไม่ได้
แต่ถ้ามีความจุ 2 GB ก็ใช้ File format เป็น Fat32 ก็ได้

ปล. mint เป็น linux ที่ใช้ทรัพยากรน้อยหน่อย
เคยเหมาะกับเครื่องเก่าในห้องปฏิบัติการ สำหรับ demo ให้นักศึกษาได้เรียนรู้
แต่ถ้าเครื่องใหม่สมัยนี้ ก็ไม่ต้องกลัวอะไร รองรับได้หมดแล้ว

เปิดบริการ webserver ผ่านเครื่อง guest ใน virtual box

virtualbox
virtualbox

การเล่าเรื่องการแชร์ guest ใน virtual box ให้เครื่องอื่นในเครือข่ายได้รู้จัก
แบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1. ที่มา
หลายปีมาแล้ว มีเพื่อนท่านหนึ่งจากบริษัทเอกชนที่กรุงเทพ
พูดประโยคที่น่าสนใจ คือ ลง server ใน virtual box
ถ้ามีปัญหาก็ restore ที่ backup ไปทับได้เลย
ตอนนั้นยังไม่ได้สนใจ เพราะผมเป็นสาวก ของ multi os แบบแยก partition
ที่ไม่ต้องแย่งทรัพยากรในเครื่องกับ host อย่างที่ virtual box เป็นอยู่
สรุปว่า ถ้าจะใช้ virtual box ต้องมีเครื่องที่แรงพอ
ถ้าเครื่องไม่แรงก็ใช้แบบแยก partition จะ work กว่า จะได้ไม่อืด
2. พบปัญหา
ผมชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ 14,500 บาท (ต่ำสุดในร้าน)
ที่มี RAM, CPU และ Harddisk มากพอ หรือมากกว่าเครื่องเดิมที่บ้าน
แล้วลง win8, win7 และ ubuntu แบบแยก partition แล้วใช้ easybcd
เป็นตัวควบคุมการ boot ใน win8
และที่ขาดไม่ได้คือ deepfreeze ที่จะลงในทุกเครื่องที่ผมใช้ (เป็นแนวของผม)
เพื่อแช่แข็ง drive C ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่อง software หรือ virus
หลังติดตั้งไปทั้ง 3 os แล้วก็ลองกันอยู่หลายรอบ
ก็พบปัญหาหนึ่งที่แก้ไม่ขาด คือ boot manager ไม่ยอมให้เลือก os ตัวอื่น
หากติด deepfreeze ที่ os ตัวแรกที่เป็น win8
และก็ต้องใช้ win8 เป็นตัวแรก เพราะตัวอื่นไม่รู้จัก win8 แต่ win8 รู้จักทุกตัว
โดยใช้งานมี motherboard เป็น ASUS H81M-D
และ Bios เป็น UEFI
สรุปว่า ถ้าติด deepfreeze จะไปเลือก os ตัวอื่นไม่ได้
เพราะระบบจะวนเข้ามาถาม os ตัวเดิมที่ติด deepfreeze
ก็จะได้คำตอบเดิมที่ถูกแช่แข็งไว้ ทุกครั้งไป
3. ติดตั้ง win7 เป็น guest
เครื่องของเราติดตั้ง win8 เป็นตัวหลัก เรียกว่า host
เมื่อติดตั้ง virtual box แล้ว
หากลง os เพิ่มใน virtual box ก็จะถูกเรียกว่า guest
มีอุปกรณ์ให้ปรับแต่งสำหรับ guest แต่ละตัวได้
เช่น display, storage, audio, network
หรือ Shared Folders ที่ขอแบ่งปัน folder
ที่อยู่ใน host มาใช้ใน guest ได้
แล้วใน guest ผมก็ได้เปิดบริการ webserver ทิ้งไว้ก่อน
ผมใช้ iis7 ที่มีมากับ win7 เป็นตัวทดสอบ
4. ปรับ network ใน settings ของ guest
สำหรับ guest ที่เป็น win7 ดังภาพ
ผมกำหนด network เป็น Bridged Adapter
ซึ่งเป็นแบบอนุญาตให้คนภายนอกเข้าถึง guest ผ่าน ip ได้
เมื่อ start win7 ขึ้นมาแล้ว จะไปร้องขอ ip address
จากใน LAN (DHCP) เมื่อได้ ip ก็จะทำให้เครื่องนอก host
สามารถเปิดดู webserver ตาม ip ของ guest
แล้วผมก็ได้เห็นคำว่า IIS7 จากเครื่องอื่น

ถูก relay ที่ใช้อยู่ ปฏิเสธซะแล้ว

relay ของ cat
relay ของ cat

ได้รับแจ้งจากคุณเปรม ที่พัฒนาระบบให้คุณแอนได้ใช้
ว่าระบบส่งข้อความไม่ถึง inbox ของเพื่อน ๆ
และคาดว่า mail server ทำงานผิดปกติ

ซึ่ง mail server มีโอกาสใช้ relay ของ CAT
แล้ววันนี้ก็พบว่า postfix ไม่ส่งอีเมลตามปกติ
เมื่อเข้าไปดูใน maillog ก็พบ
คำว่า delivery temporarily suspended:
connect to 122.155.133.2[122.155.133.2]: No route to host
แปลเป็นไทยว่า การส่งครั้งนี้ ถูกแขวนไว้ก่อน
เพราะมีปัญหาเรื่องเส้นทางไปยังโฮส

ถ้าส่งได้ก็จะพบข้อความว่า
Message accepted for delivery
แปลเป็นไทยว่า ข้อความถูกยอมรับให้ส่งไปได้

สรุปการแก้ไขที่ผมใช้
คือ เข้าไปเปลี่ยน relay ใน /etc/postfix/main.cf
ให้ชี้ไปยัง relay ตัวที่สองของ cat

จากการตรวจสอบกับคุณตุ้ย
สรุปว่าไม่ใช่ปัญหาจาก firewall ฝั่งเรา
เพราะ policy เปิดให้กับ mail server ตัวนี้หมด
แล้วคาดว่า relay ได้ปฏิเสธ server ของเรา
จึงแก้ไขโดยหา relay ตัวใหม่มาแทนที่