อันดับเว็บไซต์ด้านการศึกษา ปี ค.ศ. 2003 – 2022

ว็บไซต์อันดับ 1 ด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี 2003 ถึงปัจจุบัน มีผลการจัดอันดับในแต่ละปี ดังนี้ 1) ปี 2003 ru.ac.th มี UIP 3,228 ต่อวัน 2) ปี 2004 eduzones.com 3) ปี 2005 eduzones.com 4) ปี 2006 vcharkarn.com 5) ปี 2007 vcharkarn.com 6) ปี 2008 vcharkarn.com 7) ปี 2009 eduzones.com 8) ปี 2010 eduzones.com 9) ปี 2011 eduzones.com 10) ปี 2012 eduzones.com 11) ปี 2013 eduzones.com 12) ปี 2014 gotoknow.org 13) ปี 2015 gotoknow.org 14) ปี 2016 gotoknow.org 15) ปี 2017 gotoknow.org 16) ปี 2018 gotoknow.org 17) ปี 2019 trueplookpanya.com 18) ปี 2020 trueplookpanya.com 19) ปี 2021 trueplookpanya.com 20) ปี 2022 trueplookpanya.com มี UIP 97,965 ต่อวัน

ปัจจุบัน ทรูปลูกปัญญา คือ เว็บไซต์ด้านการศึกษา อันดับ 1 ของประเทศไทย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนไทยยุคดิจิทัล เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีเนื้อหาที่ประกอบด้วย คลังบทเรียน คลังข้อสอบ สนามสอบเสมือนจริง คลิปการเรียน ระบบอัปสกิล ระบบจัดการห้องเรียนออนไลน์ และ คอร์สเรียนออนไลน์ มีแอปพลิเคชันทรูปลูกปัญญาทั้งบน Play store และ App store หรือชมผ่านทางช่องทรูปลูกปัญญา

https://thaiall.com/truehits/

การเพิ่มเว็บไซต์ที่ชอบ เป็น shortcut ไปวางบนโฮมสกรีน

การเพิ่มเว็บไซต์ที่ชอบ เป็น shortcut ไปวางบนโฮมสกรีน (home screen) เป็นบริการที่น่าสนใจ เมื่อใช้ใน browser ต่าง ๆ จะสร้าง shortcut ไปบนหน้าแรกของโทรศัพท์ (home screen) ทำให้เข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการทำ bookmark หรือ favorite กรณีแรก เมื่อใช้ Opera หรือ Firefox หรือ Samsung Browser สั่งเปิดดูเว็บไซต์ที่ชอบ และอยากเปิดดูซ้ำในภายหลัง เช่น เว็บไซต์ของส่วนราชการ สมาคม ชมรม หรือองค์กรที่ทำงานอยู่ ทำได้โดยเลือก Add a website shortcut to home screen หรือ เพิ่มลงในหน้าจอหลัก หรือ เพิ่มไปที่ หน้าจอแรก

https://www.thaiall.com/pwa/

ตัวอย่างโค้ด

กรณีที่สอง ใช้ Chrome browser ซึ่งจะรองรับโค้ด material.min.js และ manifest.json ที่ทำงานแบบ PWA (Progressive Web App) ที่ทำให้เว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มผ่าน browser จะเป็น application ไปวางใน application listing และเปิดใช้งานได้ หากต้องการเพิ่มไปที่ home screen ก็สั่งเพิ่มไปที่หน้าจอหลักได้ ส่วน icon นั้น ถ้ามีรูปแบบเป็น image/png และมีขนาดของ icon เป็น 192px x 192px จะถูกนำไปแสดงเป็น icon บน smart phone

icon บน home screen

เว็บไซต์ ที่คาดหวังว่า ผู้สนใจเนื้อหาจะเปิดเว็บไซต์ซ้ำ ย่อมต้องพัฒนาให้รองรับการเพิ่ม website เป็น application บน smartphone เพื่อให้สะดวกในการเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และเป็น icon หนึ่งให้สามารถบริหารจัดการให้เป็นระเบียบบนอุปกรณ์ ทั้งบน home screen และ application listing

การเพิ่มเว็บไซต์ที่ชอบ เป็น shortcut ไปวางบนโฮมสกรีน

เวิร์ดเพรสจอดำ แก้ไขอย่างไร

ความเป็นมา .. มีอยู่วันหนึ่ง ในระหว่างเสนอผลการสำรวจคนไทยให้นิสิตของผมได้รู้ถึงสถานการณ์ ว่าทักษะที่แรงงานไทยขาดแคลนมากที่สุดคืออะไร จากข้อมูลที่เคยอ่านพบจากเอกสารในหัวข้อ Productivity and investment climate survey ซึ่ง Boonlert Theeratrakul บอกว่า คนทำงานไทยขาดทักษะสำคัญ 3 เรื่องคือ 1) ภาษาอังกฤษ 2) ทักษะด้านไอที และ 3) ทักษะเชิงตัวเลข จึงจะเปิดเอกสารที่เคยโพสต์ไว้ในบล็อก “IT Blog เทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งใช้ระบบ wordpress ให้บริการ Blog เมื่อคลิกเปิด post ตามลิงค์ที่แชร์ไว้ พบว่า จอดำ (Black Screen) บนทั้ง 2 Blog sites ที่เปิดให้บริการไว้

3 เรื่องที่คนไทยขาดแคลน

หลังการสืบค้น .. เข้าไปดูในระบบ administrator พบ fatal error จากโค้ด /legacy /class-jetpack-signature . php on line 218 และแจ้งว่า Call to undefined function ctype_digit() ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นกับ Blog site ทั้ง 2 ระบบบน server ตัวนี้ เมื่อนึกย้อนไปว่าก่อนหน้านี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง พบว่า ผมได้ทำการ upgrade จากรุ่นของ php 7.3 เป็น 7.4 นั่นคือ 7.4 บนเครื่องบริการนี้ ไม่สนับสนุน ctype_digit จึงต้องหาวิธีแก้ไขต่อไป

วิธีแก้ปัญหาที่ 1
พบคำแนะนำให้ลบ folder jetpack ออกจาก plugins แล้วใช้ ftp upload เข้ามาใหม่ ซึ่งคำแนะนำนี้ใช้ได้กับ jetpack ที่หยุดการทำงาน แล้วไม่สามารถสั่ง Activate ขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ shared server ที่เป็น windows ตัวหนึ่งของผม ที่แก้ไขได้ด้วยการอัพโหลดผ่าน FTP แทนการติดตั้งผ่านระบบ admin ของ wordpress โดยตรง แต่กรณี ctype_digit นี้ ไม่สามารถแก้ไขด้วยการเปลี่ยนแฟ้มบนเครื่องบริการ

วิธีแก้ปัญหาที่ 2
พบคำแนะนำให้แก้ไข php.ini โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เพิ่ม extension=ctype.so เข้า php.ini
  2. สั่ง Activate : jetpack ที่ติดตั้งอยู่ ถ้ามีปัญหา ให้ลบ folder แล้วอัพโหลดใหม่ หรือเปลี่ยนชื่อเป็นชื่ออื่น ซึ่งผมเลือกการเปลี่ยนชื่อ ทำให้เกิดการตรวจสอบในรายการ plugins ใหม่
  3. เมื่อใช้งาน jetpack ได้แล้ว อาจต้อง setup ใหม่ โดยเชื่อมกับ wordpress.com แล้วคลิก Approve
  4. บริการเบื้องต้น คือ Jetpack Stats ซึ่งยังไม่มีค่าใช้จ่าย

ปัญหานี้ เกิดจาก server ที่ให้บริการ webhosting ได้กำหนดค่า default ของ php 7.4 ว่า disabled ctype เป็นแบบ default ส่วนรุ่น 7.3 ไม่พบปัญหา เพราะ enabled เป็น default จึงต้องแก้ไขด้วยการเข้าไปแก้ไข php.ini เพื่อสั่งเรียก extension ที่ชื่อ ctype

ctype_digit function in php 7.4

ปรับสีพื้นเทมเพจรุ่น 9.0 ก่อนส่งเข้า pagespeed หวังได้ 100

เล่าเรื่องกำหนดสีพื้นใน .css ของเว็บไซต์ด้านการศึกษา

ทิสเซิล (Thistle) คือ ชื่อทั่วไปของไม้มีหนาม มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ โดย มิลค์ ทิสเซิล เป็นพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ทางยาที่มีการนำมาสกัดเป็นแคปซูลจำหน่ายเป็นยาบำรุงร่างกาย มีสรรพคุณ เช่น ดีท็อกซ์ ตับ โดยสีของดอกทิสเซิลเป็นสีม่วง ค่าสี RGB ของ thistle คือ #D8BFD8 ในการกำหนดสีบนเว็บเพจสามารถใช้ชื่อสี thistle ได้เช่นเดียวกับ red, green, blue หรือ teal

Thistle is the common name of a group of flowering plants characterised by leaves with sharp prickles on the margins, mostly in the family Asteraceae.

ซึ่งเทมเพจรุ่น 9.0 ของ thaiall.com เปลี่ยนสีพื้นจาก teal สีเขียวนกเป็ดน้ำ เป็น thistle ม่วงอ่อน ก็ด้วยหวังว่าเว็บไซต์จะถูกพัฒนาไปถึงจุดที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาของไทย เพราะการพัฒนาการศึกษาไม่ได้ขึ้นกับใครเพียงคนเดียว พบว่า มีผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้านการศึกษาจำนวนมากในระบบของทรูฮิต รู้สึกว่ามีเพื่อนที่คิดเหมือนกันอยู่ในประเทศไทยไม่ใช่น้อย  ถ้านักพัฒนาท่านใดโชคดีก็จะมีผู้สนับสนุนที่ทำให้มีแรงกำลังพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หายไปตามกาลเวลา

ขณะนี้กำลังปรับแต่งรุ่นทดสอบของเทมเพจ 9.0 ให้ผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานของ Pagespeed insight ของ google.com ทั้ง 4 กลุ่มเกณฑ์ เริ่มจาก
ประสิทธิภาพ (Performance) ตามด้วย การช่วยเหลือพิเศษ (Accessibility) แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเงื่อนไขการประเมินเปลี่ยนตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ภาพที่เหมาะสมก็จะแนะนำให้ใช้ .webp เป็นต้น

แต่การปรับให้ได้ 100 ทุกเว็บเพจนั้น น่าจะทำได้ยาก แต่จะพยายามปรับแก้ให้ได้คะแนนสูงขึ้น เพราะเทมเพจหลักจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรภายนอก (External Resources) เฟรมเวิร์ค (Framework) และไลบรารี่ (Library) ที่เราไม่ได้ควบคุมอีกหลายรายการ เช่น Truehits.net, Histats, Bootstrap หรือฝังโค้ดจาก Google drive  หรือ Youtube.com

https://www.thaiall.com/web2/

ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

วิ่งขึ้นดอยเนินสปิริต

ในช่วงนี้ เป็นช่วงจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
รับขวัญ รับน้องใหม่ของทุกคณะวิชา ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น
พบว่า อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ คณะนิเทศศาสตร์
ทำคลิปสรุปกิจกรรมทั้ง 5 วัน
ที่นำเสนอได้อย่างน่าตื่นตา
พบว่า มีเพื่อน ๆ นำคลิปไปแชร์ต่อหลายท่าน
มียอดไลค์ ยอดแชร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เป็นคลิปที่ยอดเยี่ยม ภาพชัด และใช้โดรน
มีคลิปของวันที่ 3 สิงหาคม 2565
ที่นิสิตจับมือกันวิ่งขึ้นดอย ได้ดูเพียงรอบเดียว
รู้สึกชอบ และเลือกใช้คลิปนี้เลย
จึงตัดสินใจนำคลิปนั้นมาเล่าต่อ ว่า มีความน่าสนใจเพียงใด
ประกอบกับการเตรียมบทเรียนการทำคลิป
ด้วยโปรแกรม Powerpoint
ซึ่งการบันทึกคลิปด้วยโปรแกรมนี้
เราสามารถแทรกคลิปตัวผู้บรรยายในระหว่างบรรยาย
ที่มุมล่างขวาของคลิปวิดีโอก็ได้
ซึ่งถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการทำคลิปวิดีโอ
นอกเหนือจาก kinemaster, inshot, capcut, canva, viva
ที่อยากจะแนะนำนิสิตว่า
เราทำคลิปด้วยเครื่องมือนี้ก็ได้ เป็นโปรแกรมที่ใครก็รู้จัก
ขั้นตอนนั้น เริ่มจาก
ดาวน์โหลดคลิปที่มีการแชร์ในเฟสบุ๊ค
เลือกความละเอียดที่ไม่ต่ำเกินไป และได้แฟ้ม .mp4
ประกอบกับ เครื่องที่ทำงานมี RAM ที่มากพอจะรับมือได้
โปรแกรมเป็น Office 2019 และ Win 10
นำคลิปที่ได้ไป Insert บน Slide ใน Powerpoint
ซึ่งงานนี้มีเพียง slide เดียว และมีเพียงคลิปอยู่บนสไลด์
จากนั้นบันทึก Slide show ทันที
โดยไม่ได้เตรียมข้อมูลการเล่าเรื่องไว้ก่อน
และตั้งใจบันทึกแบบม้วนเดียวจบ
จึงไม่ได้ Pause ทีละ Scene เพื่อพูดถึงรายละเอียดในภาพ
ทำให้รู้สึกว่าช่วงบันทึก เร่งตนเองระหว่างเล่าเกินไป
ถ้ามีโอกาสทำคลิปแบบนี้อีก จะต้องหยุดในซีนที่น่าสนใจ
แล้วเล่าออกไปอย่างใจเย็น
เพื่อให้การนำเสนอรายละเอียดมีความครบถ้วนยิ่งขึ้น

ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20 : โปสเตอร์

ประชุมวิชาการระดับชาติ

พบ เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน“

https://www.thaiall.com/pdf.js/wtu_20_poster.htm

โปสเตอร์ในการประชุมวิชาการ

ผลงานวิชาการที่น่าสนใจ 18 เรื่อง

ศรีเพชร สร้อยชื่อ, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ พัชรีภรณ์ หรพร้อม. (2565). การบริหารแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 240-250). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุริยา พุฒดวง, วิเชพ ใจบุญ, เกศริน อินเพลา, ศศิวิมล แรงสิงห์, บุรินทร์ รุจจนพันธุ์, และ เถลิงศักดิ์ สุทธเขต. (2565). การศึกษาการรับรู้ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 231-239). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วีระพันธ์ แก้วรัตน์, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ ภัชรชาติ ทูรวัฒน์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิก ในจังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 251-258). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ธวัชชัย อ้ายผง, ศศิวิมล แรงสิงห์, เถลิงศักดิ์ สุทธเขต, และ ขวัญ สุภรสุข. (2565). การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการบริหารจัดการป่าชุมชนแบบยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 259-268). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

คนึงนิจ ติกะมาตย์ และ กวินทร์ ศุภวิทยโยธิน. (2565). การใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมกิจกรรมของผู้สูงอายุในวิถีชีวิตใหม่ ชุมชนบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 222-230). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พนิดา สินสุวรรณ และ ศรีสกุล ชัยเวียง. (2565). การศึกษาผ่านทางไกลจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 สู่ยุคการสอนออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 331-339). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พิสิษฐ์ ยอดวันดี. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 321-330). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุรีย์ สร้อยเพชร และ วราลักษณ์ ศรีกันทา. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 315-320). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

กาญจนา ภาสุรพันธ์. (2565). การขับเคลื่อนสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 269-278). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พัทธนันท์ พุดหล้า, จิติมา กตัญญู, กุลสตรี กองวี, ชุติกาญจน์ ศรีษะ, ศิริลักษณ์ รัตนดวง, วัชรี ใจโพธิ์, และ นิตยา อินต๊ะสาน. (2565). การศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโทก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 180-190). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ศรีเพ็ญ วิทิตานนท์, พัทธนันท์ พุดหล้า, กิตติพงษ์ เปาป่า, กรกาญจน์ สิทธิจู, และ ปรียาภรณ์ วัชรการุณย์ฺ. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่บ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 201-211). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิติมา กตัญญู, ปรางค์วลัย ก๋าแก่น, ญาณิศา ชุ่มธิ, สุนันทา สิงหการ, ภัทรนัย ไชยพรม, ไกรศร วงศ์ธิดา, และ ศิริวรรณ คำวงค์ษา. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 159-167). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วิภาพร เตชะสรพัศ, กวินนา แซ่ท้าว, สุภัสสรา พิทักษ์อนันตกุล, ภูมริน ทองอ่อน, ภัทรนัย ไชยพรม, นรกมล ขันตรี, และ วชิราภรณ์ ตามวงค์. (2565). พฤติกรรมการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่มารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 191-200). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิราพร สุวรรณธีรางกูล, จิติมา กตัญญู, พัทธนันท์ พุดหล้า, ณัฐยาภรณ์ ตันน้อย, สุจินันท์ วงค์ทิพย์, ธรัญชนก พรมลังกา, และ ภัทรนัย ไชยพรม. (2565). การศึกษาสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านวังทอง ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 168-179). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, มณฑล เลิศคณาวนิชกูล, พวงทิพย์ ภู่พงษ์, กฤษณา พงศ์สุวรรณ, ณิชารีย์ พรมราช, ดารารัตน์ ห่อเพ็ชร. (2565). การสำรวจเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และชิ้นส่วนยีน mecA บนพื้นผิวโต๊ะห้องเรียนฝึกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 141-149). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุภาวดี มณีเกษร. (2565). ผลของการน็อคเอาท์ยีนยูบิควิตินคอนจูเกต (UBE2G1 และ UBC13) ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัม. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 150-158). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุฑารัตน์ หมอเต๊ะ, สุภาวดี มณีเกษร, ชญาภา พรหมเดชวัฒนา, วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, และ ยุพาลภัส สุภาเลิศภูรินทร์. (2565). การเข้าถึงแอนติเจน เทสต์ คิทเพื่อคัดกรองโควิด 19 กับวิถีชาวบ้านในปัจจุบัน ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 137-140). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นภาพร วรรณศรี. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง พ่อเจ้าทิพย์ช้าง โดยใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 116-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

การจัดการรายการต้นแบบ ใน MS Word

โปรแกรมเอกสาร (MS Word) มีคุณสมบัติหนึ่ง คือ ระบบบรรณานุกรม ที่เก็บรายการต้นแบบ และรายการปัจจุบัน ที่สามารถบันทึกแหล่งข้อมูล แล้วเลือกใช้รายการปัจจุบันในเอกสารที่เปิดอยู่ หรือนำมาแทรกเป็นเอกสารอ้างอิงท้ายรายงาน หรือท้ายบทความวิชาการได้ เมื่อถึงเวลาต้องสรุปเอกสารอ้างอิงนั่นเอง ดังนั้น นักวิจัย สามารถอ่าน เขียน สรุปรายการงานวิจัย บทความวิชาการ และบันทึกเป็นแหล่งข้อมูลให้ได้จำนวนและเนื้อหาที่เพียงพอ แล้วทำการรีวิวอย่างเป็นระบบ เลือกมาเขียนในรายงานการวิจัย 5 บทได้

มีขั้นตอนการใช้งาน คือ เข้าแถบเมนู, การอ้งอิง, จัดการแหล่งข้อมูล, มีแหล่งที่พร้อมใช้งานใน C:\Users[user name] \AppData \Roaming \Microsoft \Bibliography \Sources.xml ซึ่งแฟ้ม Sources.xml ผู้วิจัยสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขได้ง่าย หากต้องการเลือกใช้ก็เพียงคัดลอกจากหน้าต่าง “รายงานต้นแบบ” เข้าหน้าต่าง “รายการปัจจุบัน” ซึ่งเอกสารอ้างอิงมีให้เลือกได้หลายรูปแบบ เช่น APA, Chicago, IEEE, MLA, Turabian ส่วนแฟ้ม Sources.xml มีหน้าที่เก็บรายการเอกสารที่ผู้วิจัยรวบรวมจากการค้นคว้าไว้ มีได้หลายแฟ้มตามโครงการ หรือบุคคลได้ เช่น Sources_burin.xml หรือ Sources_wtu20.xml ซึ่งการเรียกแฟ้มต้นแบบเข้ามาเปลี่ยนใน MS Word จะไม่ใช่การรวมรายการกับแฟ้ม Sources.xml เดิม แต่เป็นการเปิดใหม่แทนที่แฟ้มรายการต้นแบบเท่านั้น

การอ้างอิง บน Microsoft word

ในการแทรกบรรณานุกรม ยังมีตัวเลือก “บันทึกส่วนที่เลือกลงในแกลลอรีบรรณานุกรม” ที่เรียกมาใช้ได้ หรือเข้าไป “จัดระเบียบและลบออก” ผ่าน right click ก็ได้ โดยใช้ mouse คลุมเนื้อหาส่วนที่เลือก แล้วสั่งบันทึกฯ เพื่อเรียกใช้อีกครั้งภายหลัง

https://www.thaiall.com/research/apa.htm

เรียกชื่อให้ตอบ

การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-Based Learning)

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีประโยชน์ ดังนี้ 1) พัฒนาการมีส่วนร่วม ความคิด และทักษะ 2) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อใช้พัฒนาผู้เรียน 3) ให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียน 4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด และนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติจริง 5) สร้างเครือข่ายระหว่างบุคคล และสื่อการเรียนรู้ 6) พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับผู้เรียน 7) ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทำผลงานของตน 8) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

อ่าน บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ สู่ Thailand 4.0 : Active Learning โดย กาญจนา บุญภักดิ์ และ สุวรรณา อินทร์น้อย ในวารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พบ กลวิธีหนึ่ง ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ อาจต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำการสอน คือ “การแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล โดยการเรียกชื่อให้ตอบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน คิดคำตอบไว้ล่วงหน้าตลอดเวลา เพราะคิดว่าผู้สอนอาจถามตนเองเป็นคนต่อไป”

https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/download/146253/107851/

http://www.thaiall.com/education/indexo.html

หลับจำศีลยาว ๆ ทำให้พลังงานถูกใช้จนหมดระหว่างจำศีลได้

ถ้าสนใจบทความฉบับเต็ม หาซื้ออ่านได้จากผู้ให้บริการ
https://doi.org/10.1098/rspb.2022.0456

ตามที่ ทีมนักวิทยาศาสตร์ 3 คน คือ Roberto F. NespoloCarlos Mejias และ Francisco Bozinovic จากมหาวิทยาลัยปอนติฟิคัลคาทอลิก (PUC) และสถาบันสหัสวรรษเพื่อชีววิทยาบูรณาการ (iBio) ของประเทศชิลี เผยผลการศึกษา “Why bears hibernate? Redefining the scaling energetics of hibernation” Published: 27 เมษายน 2022 ว่า สัตว์ที่มีร่างกายใหญ่จะใช้พลังงานมากกว่าสัตว์ที่มีขนาดเล็กในระหว่างจำศีล เช่น หมีก็จะใช้พลังงานมากระหว่างจำศีล ส่วนสุนัขหรือหนูขนาดเล็กก็จะใช้พลังงานน้อยลงไปตามขนาดร่างกาย จาก ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์และชีววิทยา ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B ทำให้เชื่อได้ว่ามนุษย์จะต้องใช้พลังงานในระหว่างจำศีล และประหยัดพลังงานได้ไม่มากพอ จนทำให้เสี่ยงที่พลังงานจะหมดระหว่างจำศีลแล้วเสียชีวิต เนื่องจากพลังงานถูกใช้ไปจนหมด โดยเฉพาะถ้าต้องเดินทางในห้วงอวกาศที่ยาวนานนับสิบนับร้อยปี

Nespolo Roberto F., Mejias Carlos and Bozinovic Francisco 2022Why bears hibernate? Redefining the scaling energetics of hibernationProc. R. Soc. B.2892022045620220456
http://doi.org/10.1098/rspb.2022.0456

การมีชีวิตของมนุษย์หรือสัตว์นั้น ร่างกายประกอบขึ้นด้วยเซลล์ พบว่า ร่างกายมนุษย์เราสร้าง 3.8 ล้านเซลล์ใหม่ทุกหนึ่งวินาที ผลัดเซลล์ 80 กรัมต่อวัน ข้อมูลจาก รายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Nature Medicine โดย Ron Sender และ Ron Milo พบว่า ในร่างกายของเรามีเซลล์หลายชนิด เซลล์บางชนิดอยู่ได้ไม่กี่วัน แต่ประสาทในสมองส่วนซีรีเบลลัมและเซลล์ไขมันในเลนส์ตา ไม่มีการผลัดเปลี่ยนใหม่ ซึ่งอัตราการสร้างและผลัดเปลี่ยนเซลล์ใหม่ของมนุษย์ พบว่า เซลล์เม็ดเลือดใหม่ผลัดเปลี่ยนได้สูงสุด ซึ่งมากกว่าเซลล์บุผนังลำไส้ใหม่ เซลล์ผิวหนัง และเซลล์ไขมัน นั่นหมายความว่า มนุษย์เราต้องใช้พลังงาน และร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการสร้างและผลัดเปลี่ยนเซลใหม่ในร่างกายของเรา

https://www.bbc.com/thai/features-55786664
https://stem.in.th/20210124/