เตรียม ทบทวน นำเสนอ ติดตามผลการปรับปรุงกับน.ศ.วิจัยท้องถิ่น

4 วันของนักศึกษาโยนกที่รับทุน cbpus
4 วันของนักศึกษาโยนกที่รับทุน cbpus

มี 4 กิจกรรมที่น.ศ. cbpus ทำในช่วงนี้ เพราะนอกจากจะต้องทำงานกับ สกว. แล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมนำเสนองานวิจัยท้องถิ่นกับ อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเพลา ในอีก 3 เดือนข้างหน้าไปพร้อมกัน แต่งานสำคัญเร่งด่วนคือรายงานความก้าวหน้ารอบ 3  เดือนที่ผ่านมา ณ มจร.บุญวาทย์ ลำปาง
     22 พ.ย.52 เตรียมเอกสารที่จะนำเสนอในเวทีสกว.ลำปาง กรกับปราง นำฟอร์มที่ต้องส่ง และกิจกรรมทั้งหมดที่เคยทำ มาทบทวน ซึ่งวันนี้ผมสะดวกในทุ่งนา เพราะอยู่ในช่วงเกี่ยวข้าว มีประเด็นพูดคุยคือ 1)ผลการประชุมกับชุมชน และการทำงานที่ผ่านมา 2)จำนวนฟอร์ม การให้รายละเอียดในแต่ละฟอร์มที่สกว. กำหนดมา 3)ขอบเขตข้อมูลที่จะนำเสนอในแต่ละฟอร์ม 4)ทบทวนกิจกรรมวิจัยตามแผน 5)กำหนดตารางเข้าเก็บงานในพื้นที่ไปพร้อมกับทำเอกสารเสนอสกว.
     26 พ.ย.52 ทบทวนเพื่อเตรียมรายงานความก้าวหน้าด้วย powerpoint มีประเด็นพูดคุยคือ 1)ประเด็นปัญหาจากการจัดทำเอกสารอย่างรีบเร่งและต้องส่งให้ผู้วิพากษ์โดยเร็ว จึงไม่ได้ทบทวนอีกครั้งในทีมวิจัยของเรา 2)ทบทวนกิจกรรมทีละประเด็น เพื่อทำความเข้าใจสำหรับนำเสนอในเวทีมจร. 3)กำหนดกรอบ powerpoint ที่จะนำเสนอ ทีละ slide ในแต่ละกลุ่มประเด็น
     28 พ.ย.52 นำเสนอต่อผู้วิพากษ์ ในครั้งนี้มี อ.มหาวิทยาลัยโยนกร่วมเป็นผู้วิพากษ์ 2 คนคือ อ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ และอ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์  ผลการวิพากษ์ผ่านไปด้วยความราบรื่น เพราะเตรียมรายละเอียดของกิจกรรมชัดเจนที่จะทำให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ แต่สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ 1)เอกสารควรมีรายละเอียดตรงกับกิจกรรมที่ทำจริงมากกว่านี้ การเข้าพบชุมชนมากกว่า 10 ครั้งไม่พบการอธิบายรายละเอียดกิจกรรมย่อยในกิจกรรมหลัก ถ้ามีรายละเอียดก็จะทำให้เข้าใจการทำงาน และสัมพันธ์กับภาพกิจกรรมที่นำเสนอ 2)ข้อความในเอกสารขาดการตรวจสอบอยู่มาก ต้องปรับปรุงเป็นรุ่นต่อ ๆ ไปให้สมบูรณ์ 3)ขาดการอธิบายกระบวนการที่ได้มาซึ่ง 3.1)ทำไมต้องใช้ซีดีสองแผ่น 3.2)story board 3.3)script 3.4)บทวิเคราะห์ script 4)งานที่ทำมี 2 มาตรฐานคือ 4.1)นำเสนอต่อสกว. ตามกิจกรรทั้ง 8 ที่วางแผนไว้ 4.2)แต่ทั้ง 8 กิจกรรมไม่มีส่วนที่ต้องเตรียมนำเสนอต่อกรรมการ ได้แก่ อ.วิเชพ ใจบุญ และอ.เกศริน อินเพลา ที่ต้องแสดงขอบเขต นโยบาย โครงสร้างข้อมูล และตัวอย่างจอภาพ เป็นอย่างน้อย (วันนี้อยู่เป็นผู้วิพากษ์ได้ครึ่งวันเพราะไปร่วมงานรับปริญญาน้องสาวที่เชียงใหม่กับครอบครัว)
     5 ธ.ค.52 ติดตามผลการปรับปรุงและตารางกิจกรรมในหมู่บ้าน 1)จดโดเมนเนมโครงการคือ ldy69.com ซึ่งใช้เงินส่วนตัวของนักศึกษา เพื่อเตรียมนำเสนอต่อกรรมการผู้สอบในมหาวิทยาลัย 2)ถ่ายวีดีโอนักวิจัยเพิ่มเติมที่บ้านอาจารย์นักวิจัย ซึ่งมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน และการจำบท 3)วิพากษ์วีดีโอชุดจริงทั้งหมดที่เก็บมา เพื่อวางแผนเข้าเก็บวีดีโอที่ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนวิธีการ 4)ทบทวนกิจกรรม และนัดหมายตามงานครั้งต่อไปวันที่ 12 ธ.ค.52
+ http://www.thaiall.com/research/cbpus52/student_report_3m.zip (14 MB รวม doc+ppt)

สรุปผลการวิจัย 1/9 ตอน ของ sar51

4 ธ.ค.52 โครงการวิจัยพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองปีการศึกษา 2551
     สรุปผลการวิจัยตอนที่ 1 ใน 9 ตอน ส่วนของผลการวิเคราะห์สถานการณ์ระบบฯ  พบว่า การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในมหาวิทยาลัยผ่านกระบวนการวิจัย ทำให้สอดรับกับตัวบ่งชี้คุณภาพอย่างน้อย 4 ตัวบ่งชี้ คือ 1)ตัวบ่งชี้ 4.1 มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 2)ตัวบ่งชี้ 7.5 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย 3)ตัวบ่งชี้ 9.1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา 4)ตัวบ่งชี้ 9.3 ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 4.1 คือ แสดงให้เห็นว่าคณะวิชามีบทบาท มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบ และกลไกที่ส่งบุคลากรเข้าร่วมเป็นทีมวิจัยโครงการวิจัยบูรณาการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัย แล้วนำระบบที่พัฒนาขึ้นกลับไปใช้ประโยชน์ในคณะวิชาอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 7.5 คือ คณะวิชามีส่วนพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน แล้วใช้ประโยชน์จากรายงานที่ได้ อาทิ ตารางสรุปผลทั้ง 4 ประเภทไปช่วยในการตัดสินใจพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.1 คือ คณะวิชามีส่วนร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาและใช้ร่วมกันในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นปีที่สอง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.3 คือ คณะวิชาได้รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสู่สาธารณชนภายในเวลาที่กำหนด ผ่านระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่คณะวิชามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อใช้งานในมหาวิทยาลัยเป็นปีที่สอง
     สำหรับการดำเนินการ นำเสนอผลการประกันคุณภาพสู่สาธารณชน อยู่ขั้นตอนการพัฒนารายละเอียด และขออนุมัติผู้บริหาร ซึ่งมีตัวอย่างที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เผยแพร่สู่สาธารณะ ดังนี้
http://science.psru.ac.th/sar/ocomponent1_1.php
+ http://fis.swu.ac.th/QAsar/linkdetail.asp?fisyear=&fc=MDCH&parentid=20&num=4&nodenum=7.5
+ http://www.nsru.ac.th/aritc/sar51/7_5.htm
+ http://www.ams.cmu.ac.th/depts/qa/WSAR50/KPI50/7/aong7.5.htm
+ http://www.bcnnv.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=244
+ http://www.pnc.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=47
+ http://sci.skru.ac.th/science/sciquanlity/sar51/sarpointer7_5.php
+ http://202.183.204.134/manage/StandardDetail.php?code=99
+ http://202.29.80.19/~sar/acomponent3_4.php
+ http://www.techno.msu.ac.th/SAR/007/p7_05.htm
+ http://www.ubu.ac.th/~softset/qaocn50/act50_751.php

เวทีวิจัยจากทุน CBPUS เกี่ยวกับสื่อขยายองค์ความรู้งานศพ

งานวิจัย cbpus นักศึกษา ม.โยนก ในเวทีบ้านไหล่หิน
งานวิจัย cbpus นักศึกษา ม.โยนก ในเวทีบ้านไหล่หิน

คืนวันศุกร์ที่ 20 พ.ย.52 นักศึกษามหาวิทยาลัยโยนก ได้แก่ นายกร ศิริพันธุ์ และ น.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม และ ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ตามทุนวิจัยโครงการ “แนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” ได้จัดเวทีวิจัย ณ ศาลาหมู่ 2 บ้านไหล่หิน มีตัวแทนชาวบ้านที่จะเป็นผู้แสดงและเคยเป็นนักวิจัยในโครงการ “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” จากทุน CBR มาพิจารณาวิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงวีดีโอ และสคริปต์ร่วมกัน ก่อนดำเนินการถ่ายทำและตัดต่ออย่างเป็นระบบ ที่เป็นกิจกรรมที่ 5 ของโครงการจากทั้งหมด 8 กิจกรรมหลัก และเตรียมสำหรับการนำเสนอความก้าวหน้าต่อผู้ให้ทุน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 ณ สกว.ศูนย์ลำปาง
      วาระในเวทีประกอบด้วย 1)ทบทวนวัตถุประสงค์ และกิจกรรมโครงการ 2)นำเสนอการดำเนินการที่ผ่านมาของนักศึกษากับชุมชน 3)นำเสนอโครงวีดีโอ 2 เรื่องคือ “ประเด็นปัญหา การแก้ไข และผลที่ได้” และ “กระบวนการวิจัย” 4)พิจารณาปรับปรุงโครงวีดีโอ บทวิเคราะห์โครง สคริปต์บทพูด 5)นัดหมายเพื่อถ่ายทำวีดีโอแต่ละท่านตามแผนในสคริปต์บทพูด
     กว่าจะถึงวันนี้ นักศึกษาทำงานไปแล้วตามขั้นตอน ดังนี้ 1)เข้าไปศึกษาชุมชน เดินสำรวจหมู่บ้าน สำรวจแหล่งทุนชุมชน นอนวัด นอนบ้าน เข้าพบ ผู้นำชุมชน และพระสงฆ์ 2)ศึกษาวรรณกรรมจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นประวัติชุมชน กระบวนการวิจัย และการจัดงานศพ 3)เข้าเรียนรู้งานศพในบ้านไหล่หิน 2 งาน 4)เข้าสัมภาษณ์และบันทึกวีดีโอการนำเสนอองค์ความรู้จากนักวิจัยโครงการ CBR 5)ฝึกตัดต่อวีดีโอต้นแบบที่บันทึกมาแล้ว 6)ยกร่างโครงวีดีโอทั้ง 2 เรื่อง คือ “ประเด็นปัญหา การแก้ไข และผลที่ได้” และ “กระบวนการวิจัย” 7)ยกร่างสคริปต์บทพูด 8)จัดทำบทวิเคราะห์ และปรับแก้ทั้งความสัมพันธ์ของบท จัดวางพระเอกนางเอกให้เหมาะ กับบทพูด จัดลำดับ แก้ไขประเด็นคำพูด 9)นำสคริปต์บทพูดเข้าเวทีพิจารณาอีกครั้ง 10)เรียบเรียงทั้งหมดเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.webprodee.com/research
+ ตากล้องวันนี้คือ นายสุทัศน์ หรือบอย เพื่อนของกรกับปรางที่รับอาสาบันทึกภาพ

เข้าอบรมหลักสูตรที่ 5 dialogue และคิดอย่างวิจัย

24 ต.ค.52 ไปเข้าอบรมกับศูนย์ประสานงาน สกว.ลำปาง เช้า – เย็น จัดโดยนางสาวภัทรา มาน้อย มี กร กับ มะปราง ในฐานะนักศึกษาที่รับทุน CBPUS ไปร่วมด้วย ที่ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครลำปาง ครั้งนี้นั่งพื้นกัน และมีเพื่อนนักวิจัยชุมชนเข้าร่วมกว่า 40 คน ก่อนปิดเวทีให้เขียนข้อเสนอแนะต่อเพื่อนในวง แล้วนำกลับไปอ่านที่บ้าน ในแบบสุนทรียเสวนาด้วยกัลยาณมิตร
     กิจกรรมที่จำได้มี 3 อย่าง คือ 1)นั่งสมาธิแล้ว ให้วาดภาพในวัยเด็ก เรื่องนี้ผมทำไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปวาดภาพดอกบัว หลังวาดเสร็จให้นำเสนอรายคน เป็นเหตุให้ในเวทีมีคนร้องไห้ 2 คน ถ้าผมวาดภาพความหลังคงร้องไห้เป็นแน่ พักนี้จิตอ่อนไหวง่ายมาก เพราะทนไม่ได้ต่อการเห็นการเปลี่ยนแปลงโลก ที่มนุษย์เป็นต้นเหตุ แต่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย 2)มีกิจกรรมให้เลือกระหว่าง นกอินทรีย์ หมี วัวกระทิง และหนู ก็เลือกกันไปแล้ว แบ่งกลุ่มและให้เหตุผลทีละคน สุดท้ายเฉลยว่าคนเลือกแบบใดมักมีลักษณะอย่างไร สำหรับผมก็ต้องบอกว่าตรงกับตัวผม 3)มีคำถามน่าสนใจ ว่า “ชาย 2 คนลงซ่อมปล่องไฟ แล้วขึ้นมา คนหนึ่งสะอาด อีกคนสกปรก ใครจะไปอาบน้ำก่อนกันคำตอบที่ถูกก็มีอยู่นะครับ แต่เจอคำใบ้ไปว่ามองเพื่อนแล้วไปอาบน้ำ ทำให้เขวกันไปหมดเลย .. นี่คือกรณีหนึ่งที่ใช้นำเสนอเรื่องคิดอย่างวิจัย

กำหนดโครงเรื่อง VDO กันใหม่

home01

23 ต.ค.52 กรกับมะปราง พบอ.ที่ปรึกษา ช่วงบ่ายวันหยุดรวม 4 ชั่วโมง มีกิจกรรมดังนี้ 1)ศึกษา vdo ในพื้นที่วิจัยและภาพที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการทำงาน 2)ศึกษา vdo ในพื้นที่อื่น เป็นการทบทวนวรรณกรรมทั้งกระบวนการ และเทคนิก 3)พิจารณา script ที่แต่ละคนเตรียมมา แต่พบว่าขาดโครงเรื่องที่ชัดเจน 4)ยกร่างโครงเรื่อง และมอบหมายงานไปเขียน script กันต่อ นัดหมายต่อไป เป็นเย็น 29 ต.ค.52
     ทุนที่นักศึกษามีก่อนเขียน script ตามโครงเรื่อง 2 เรื่อง 1) ประเด็นปัญหา การแก้ไข และผลที่ได้ 2)กระบวนการวิจัย ต่อไป คือ 1)เข้าใจในชุมชนผ่านการสัมภาษณ์และเข้าไปใช้ชีวิต 2)เข้าใจกระบวนการจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนและเข้าเวทีวิจัย 3)มีประสบการณ์จากการอ่านรายงาน ศึกษาจากภาพถ่าย และวีดีโอทั้งในและนอกโครงการ 4)ลองผิดลองถูก ฝึกฝนในการยกร่าง script และตัดต่อวีดีโอมาแล้วระดับหนึ่ง 5)บันทึกกิจกรรม เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในรายงานเสนอ CBPUS เมื่อต้องปิดโครงการ
+ http://www.thaiall.com/research/vdo_structure.doc
+ http://www.webprodee.com ของ นายกร

น.ศ.CBPUS เข้าเรียนรู้ชุมชนครั้งที่ 3 และเวที สกว.

ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง
ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง

15 ต.ค.52 กร กับ มะปราง ร่วมเวทีสรุปบทเรียนปี 2552 สกว.ลำปาง ร่วมกับ อ.วิเชพ อ.กฤตภาศ อ.อ้อม อ.เอ อ.เก๋ และอ.แต วันที่ 15 ต.ค.52 ณ ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง จัดโดย นางสาวภัทรา มาน้อย โดยมี ผศ.เล็ก แสงมีอานุภาพ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน “ฮู้แฮง แป๋งฮ่อม ต้อมกำกึ๊ด” เพื่อเปิดเวทีแบ่งปันประสบการณ์ที่นักวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ มานำเสนอในประเด็นที่สัมพันธ์กับการศึกษา และมีนักวิชาการมาให้คำแนะนำ เป็นแนวทางพัฒนาต่อไป จนเลยเวลาไปนิดหน่อย
     ก่อนเข้าเวทีนี้ นักศึกษาทั้ง 2 คนข้างต้น และนายสุทัศน์ ได้ลงพื้นที่ครั้งที่ 3 วันที่ 11-12 ต.ค.52 เพื่อเก็บข้อมูลวีดีโอเพิ่ม นำเสนอวีดีโอต้นแบบ และโฮมเพจของโครงการ ต่ออ.บุรินทร์ ซึ่งมีกิจกรรม และประเด็นในการแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาที่สำคัญ คือ 1)การทบทวนโครงเรื่องของ VDO 2 เรื่อง 2)การยกร่าง Script สำหรับจัดทำวีดีโอรวม 3 ชั่วโมง 3)ตกเย็นวิพากษ์วีดีโอ และ 4)โฮมเพจต้นแบบ 5)วันที่สองเข้าสัมภาษณ์นักวิจัยในพื้นที่อีกครั้งก่อนกลับลำปาง

เวทีสรุปบทเรียนปี 2552 สกว.ลำปาง

15 ต.ค.52 วันนี้ได้ร่วมเวที “ฮู้แฮง แป๋งฮ่อม ต้อมกำกึ๊ด เครือข่ายสถาบันการศึกษากับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ณ ห้องประชุมบัวตอง มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มีผมกับอ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุน ร่วมเสวนาจากทั้งหมด 16 คนบนเวที โดยผู้ร่วมเวทีมีเป้าหมายมาจากมหาวิทยาลัยที่มีรับทุนในลำปาง 4 สถาบันเป็นหลัก ได้แก่ 1)มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 2)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง 3)มหาวิทยาลัยโยนก 4)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหาร โดยแบ่งกลุ่มการเสวนาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)การเรียนรู้ตลอดชีวิต/การศึกษานอกระบบ 2)การศึกษาระดับประถม/มัธยมศึกษา 3)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbr-cbpus 4)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbmag
     เวทีนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1)เพื่อนำเสนอความเชื่อมโยงขององค์ความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ถูกนำไปใช้ในด้านการศึกษาและรูปธรรมที่เกิดขึ้น 2)เพื่อกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกับเครือข่ายการศึกษาในอนาคต
     กิจกรรมภาคเช้า คุณภัทรา มาน้อย ชวนนักวิจัย 16 คนบนเวทีได้เล่าถึงกลไก บทเรียนและการนำไปใช้ในด้านการศึกษา แล้วผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่านออกมาให้ข้อเสนอแนะถึงการพัฒนาชุมชนในยุทธศาสตร์การศึกษาท่านสุดท้ายคือ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ พักกลางวันพบว่ามีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยรวมทั้งหมดกว่า 6 ท่าน และนักศึกษาคณะวิทย์ที่รับทุน cbpus คือ กร กับปราง ภาคบ่าย คุณกฤษฎา เขียวสนุก(บอย-ศิษย์เก่า) เล่าภาพความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในเวทีช่วงเช้า ต่อจากนั้นก็มีการเปิดเวที โดยอาจารย์จากโยนกหลายท่านเข้าร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งนำโดย อ.ศิรดา ชัยบุตร และอ.วิเชพ ใจบุญ ประเด็นเสวนาที่ชัด คือ 1)มหาวิทยาลัยลำปาง 2)co-fund, co-working 3)training 4)วารสารวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่แนวว่าจะได้รับงบจากคลังสมอง 5)โค้ช coach ตีพิมพ์งานวิจัยระดับชาติ

เปิดโครงการวิจัยนักศึกษาที่บ้านไหล่หินในพื้นที่ครั้งแรก

เวทีสรุปโครงการ cbr และเปิด cbpus
เวทีสรุปโครงการ cbr และเปิด cbpus

2 – 4 ต.ค.52 นายกร กับน.ส.มะปราง พร้อมเพื่อนคือนายอั๋น และนายบอย เข้าเปิดตัวโครงการวิจัยที่รับทุน CBPUS เวลา 20.00น – 23.00น. ของศุกร์ที่ 2 ในเวทีนี้ที่มีโครงการวิจัยเชื่อมโยงกัน 3 โครงการ ซึ่งคืนแรกนอนกันที่วัดโดยพระครูดูแลพาสวดมนต์ค่ำ คืนนั้นก็พอถูไถไปได้อยู่ แต่คืนที่สอง ต้องไปนอนบ้านอ.เก๋ แล้วกรบอกว่ากลัวผีเข้าวัดได้ เนื่องจากดูภาพยนต์เรื่องทางห้าแพร่งมาก่อน อ.เก๋ ถึงกับอ้าปากค้าง (เล่าขวัญลูกศิษย์) ตะลึงว่าสมัยนี้ยังมีภาพยนต์หลอกเด็กจนเด็กเชื่อแบบนี้อยู่อีกหรือ ก็เป็นการเข้าพื้นที่ครั้งแรก ต้องใช้น้ำเย็นเข้าลูบกันก่อน ครั้งต่อไปก่อนปิดโครงการจะเกลี้ยกล่อมให้นอนวัดให้ได้ ไม่งั้นเสียชาติเกิดเป็นคนไอทีหมด วันรุ่งขึ้นและวันถัดไปเข้าสัมภาษณ์และบันทึกวีดีโอจากนักวิจัยชุมชนกว่า 10 ท่าน ได้พบผู้นำ นักเรียน และครูใหญ่ มีเรื่องเล่ากันมากมาย แต่ที่แน่ ๆ คือนอนตื่น 10 โมงเช้า เพราะอ.เก๋ ชวนเคลียร์ประเด็นเกือบตีสามทั้ง 2 คืน และคุยกันอีกยาวหลายต่อหลายรอบ
     ประเด็นการประชุมมี 3 โครงการ คือ สรุปปิดโครงการของผม มี 11 วาระดังนี้ 1)นำเสนอบทสรุปของโครงการด้วยกิจกรรมชวนทุกคนร่วมทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการขยายผลทั้งองค์ความรู้ผ่านสื่อวีดีทัศน์ในรูปของโครงการวิจัยต่อยอด และความร่วมมือกับกลุ่มในชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาชุมชน โดยกิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้นคือการชวนทีมวิจัยเล่าเรื่องซึ่งมีประเด็นหลักดังนี้ 1)การเริ่มต้นของโครงการ 2)การได้มาของประเด็นปัญหา 3)นำเสนอปัญหาในฐานะแม่บ้าน 4)การรวมตัวของทีมต่างบทบาท 5)อุปสรรคในระยะแรก 6)การเข้ามาของเครื่องมือช่วยคลายปมปัญหา 7)ส่วนร่วมของนักเรียน 8)ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่สัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน 9)พลังของทีมวิจัยร่วม 10)ผลของการศึกษาดูงาน 11)ความประทับใจของนักวิจัย 2)นายกร ศิริพันธุ์ และน.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม ในนามนักศึกษาทุนวิจัย CBPUS  นำเสนอโครงการวิจัยแนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” เพื่อต่อยอดขยายผลโครงการนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเด็นข้อตกลงในการจัดการงานศพในบ้านไหล่หิน 2)เพื่อจัดทำสื่อวีดีโอเผยแพร่ประเด็นข้อตกลง และกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นตามโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน 3)พระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์  อิสฺสรธมฺโม ในนามประธานชมรมธรรมะสว่างใจ นำเสนอ “โครงการขยายแนวร่วม ร่วมสร้างหมู่บ้านพอเพียง เพื่อรากฐานสุขภาพที่ยั่งยืน บ้านไหล่หิน จ.ลำปาง” ที่ต้องอาศัยการรวมกลุ่มของทีมวิจัยที่เข้มแข็งมาเป็นกลไกขับเคลื่อนอีกแรกหนึ่ง แล้วอธิบายวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1)เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านไหล่หินมีคุณธรรมสามารถ ลด ละ เลิกสิ่งเสพติด และอบายมุข 2)เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านไหล่หินได้พัฒนาไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง” 3)เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านไหล่หินมีครอบครัวอบอุ่น มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
     ก่อนกลับนักศึกษาได้ไปลาพระครู ท่านก็ให้พร และชวนไปทำวีดีโอโครงการของท่าน ซึ่งจะมีเครือข่ายสานสัมพันธ์กับผู้นำทั้งในและนอกพื้นที่ สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะเหล่าศิษย์ที่ท่านจะชวนไปรู้จักและไปเป็นเครือข่าย .. ผมยังนึกในใจว่าอยากกลับเป็นเด็กอีกครั้งจะได้มีโอกาสวิ่งเข้ามาชนแบบนี้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องลุ่นว่าศิษย์ของผมเห็นโอกาสเหล่านั้นอยู่ในทางเลือกของพวกเขาหรือไม่ ดังคำว่าตบมือข้างเดียวไม่ดัง .. คืนวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552 ลูกศิษย์หลายคนจะไปเดินจงกลมรอบเจดีย์วัดไหล่หินลุ่ม และปีนดอยฮางศึกษาธรรมชาติ ศิษย์โยนกท่านใดสนใจติดต่อผมได้ แต่มีเงื่อนไขไม่รับคนกลัวผี

น.ศ.เข้าเรียนรู้กิจกรรมงานศพในชุมชน

 

กร กับ ปราง ที่บ้านไหล่หิน
กร กับ ปราง ที่บ้านไหล่หิน

10-11 ต.ค.52 นักศึกษาโครงการ PDG52N0013 คือ นายกร ศิริพันธุ์ และน.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม เข้าพื้นที่บ้านไหล่หินครั้งที่ 2 เพื่อ 1)สัมภาษณ์ อ.สุวรรณ เกษณา อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และพระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ เพิ่มเติมจากการเข้าพื ้นที่ครั้งแรก 2)เรียนรู้กระบวนการจัดการงานศพ 2 งานด้วยการเดินสำรวจ เก็บภาพ และร่วมกิจกรรมจูงศพในวันดา และวันเผา เพราะมีงานศพที่เผาวันเสาร์ และวันอาทิตย์วันละศพ โดยทั้ง 2 งานมีลักษณะแตกต่างกันเกี่ยวกับบทบาทของเจ้าภาพในชุมชน และมีประเด็นที่ทำให้ต้องพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะวิถีชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยช่วงเวลาที่ให้ความสำคัญคือช่วงเวลาของมนุษย์ยุคปัจจุบัน 3)พานักศึกษาไปเรียนรู้วัฒนธรรมบนดอยฮาง เพราะประเมินสมรรถภาพแล้วน่าจะไหว เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ และความงดงามของศาสนา ได้พบกับถ้ำกลางดอย และสักการะเจดีย์ดอยฮางที่ยอดดอย
     แม้ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่พักในพื้นที่วิจัย แต่น.ศ.ก็ยังไม่สามารถค้างคืนที่วัดด้วยความสมัครใจ คาดว่าครั้งที่ 3 จะปรับตัวกันได้ มีแผนย้ายจากการพักบ้านอ.บุรินทร์ เป็นพักที่วัด การเข้าพื้นที่ครั้งต่อไปนอกจากจะเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมเสริมการยกร่าง story board แล้ว ยังกำหนดให้นักศึกษาตัดต่อวีดีโอลง VCD ชุดแรกให้เสร็จโดยใช้ข้อมูลวีดีโอของคนในชุมชนที่บันทึกไปนับสิบท่าน และเข้ามาทำความคุ้นเคยกับชุมชนด้วยการร่วมกิจกรรมกับวัดไหล่หินลุ่ม คือ เดินเวียนเทียนในวันศีล เพราะต่อไปต้องร่วมโครงการวิจัยกับพระครูฯ ซึ่งเป็นผลจากการทำงานครั้งนี้ที่มีเครือข่ายร่วมกับชุมชน

อบรมการเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ

วิทยากร การเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ
วิทยากร การเขียนวิจัยภาษาอังกฤษ

6 ต.ค.52 เข้าอบรมการเขียนงานวิจัยภาษาอังกฤษ จัดโดยคณะสังคมฯ ซึ่งวิทยากรรับเชิญเป็นกลุ่มอาจารย์สอนปริญญาโทจากมหาวิทยลัยพายัพ แม้วันนี้เป็นวันที่สอง ก็มีคนแน่นห้องเหมือนเดิม บุคลากรภายใน 29 คน บุคคลภายนอกอีกพอกัน เนื้อหาบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านมีดังนี้ 1)Sudha Subramanian เปิดด้วยการชวนแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัย อาจารย์หลายท่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งของโยนก และอาจารย์จากบุรีรัมย์ ฟังแล้วทึ่งในประสบการณ์ของหลายท่าน สำหรับหัวข้อประกอบด้วย Where do i start? และ How do i start? และ Three P’s : Probe ค้นหา, Passion ความชอบ , Persistence ความเพียร 2)Philip Keay, M.A., Dip,ELT สอนเขียนบทความแบบ Free writing โดยหัวข้อใหญ่คือ The process of writing มี 5 ขั้นตอนคือ 2.1)generating idea 2.2)planning 2.3)writing 2.4)revising 2.5) editing 3)Pearl Wattanakul, Ph.D. Department Head ท่านดู Active มาก สอนเรื่องการเขียนงานวิจัย ซึ่งมี Powerpoint นำเสนอวิธีการ 37 slides สำหรับหัวข้อที่สำคัญ อาทิ Process of Research, Research Proposal Structure, Classification of Research by Purpose, Classification of Research by Method 4)David Richards, M.Phil. เป็นท่านสุดท้าย แต่ผมติดภารกิจ จึงไม่อาจนำรายละเอียดมาเล่าให้ฟังได้ เสียดายมากครับ
     สำหรับการเรียนกับ Philip Keay ท่านให้ทำงานเขียนบทความแบบ free writing ในห้องอบรม แล้ว อ.นาดีน ช่วย prove เรื่อง gramma ซึ่งมีผลงานดังนี้

Nowadays, globalization is the life style of everybody. It is a new generation of life. Digital computer can use data in type of 0 and 1 and it can be applied to images, sounds, animation and movies. We have tried to make artificial intelligence which looks like humans. All computers go into one network among wire and wireless technology. Everybody has an email account on the internet and communicate on social networking sites. If i mention the twitter website, it would represent individuals of today.

+ http://www.thaiall.com/ppt/research_proposal_drpearl.ppt
+ http://www.facebook.com/family/Subramanian
+ http://tesol.payap.org/Faculty.html