เล่าเรื่อง University 42 จาก bangkokbiznews.com โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

warakorn - university42

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ “อาหารสมอง” เขียนเล่าเรื่อง “University 42” ที่ก่อตั้งโดยเศรษฐีชื่อ Xavier Niel กับ Nicolas Sardirac
ว่าที่นั่นมุ่งไปที่จุดเดียว คือ ผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นยอดปีละประมาณ 1,000 คน
เรียน 3-5 ปี แล้วแต่ใครจะใช้เวลานานเท่าใด มีหอพัก มีอาหารฟรี ให้นักศึกษาที่แย่งกันเข้า
ไม่มีการนั่งฟังเลคเชอร์ ไม่มีอาจารย์ เปิดเรียน 24 ชั่วโมง 7 วัน
ผู้เรียนทุกคน คือ อาจารย์ของกันและกัน
ปีแรก (2013) ที่เปิดรับมีผู้สมัคร 80,000 คน
เรียนจบระดับใดหรือสาขาใดได้ทั้งนั้น มีอายุระหว่าง 18-30 ปี
สอบรอบแรกคัดเหลือ 3000 คน แล้วติว 4 สัปดาห์
แล้วคัดเหลือ 1000 คน

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643904

ที่นี่เรียนรู้โดยอาศัย project-based learning คือ การเรียนรู้จากกันและกัน
นักศึกษาต้องทำงานโปรเจคหนักมาก ทีมละ 5 – 6 คน ชนิดไม่ได้หลับไม่ได้นอนเป็นอาทิตย์
โปรเจคมาจากของจริง เช่น ให้พัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมของโทรศัพท์บางรุ่นที่ล้าสมัย
ให้ทำงานได้กว้างขวางขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำว่า 42 มาจาก นิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy
เขียนโดย Douglas Adams
ในเรื่องถามซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ Deep Thought
ว่า อะไร คือ คำตอบสุดท้ายของคำถามเกี่ยวกับชีวิต จักรวาล และทุก ๆ สิ่ง
แล้วคอมพิวเตอร์ใช้เวลาคิดอยู่ 7.5 ล้านปี และให้คำตอบว่า 42

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.

http://www.thaiall.com/computingscience/

เรื่องนี้ ผมเพิ่มเข้าไปในโฮมเพจ วิทยาการคำนวณ (Computing science)
ซึ่งมีคลิ๊ปเด่นของ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ โดยอธิบายที่มาที่ไปได้ชัดเจน

สรุปขอบเขตของวิชาวิทยาการคำนวณ ประกอบด้วย 3 องค์ความรู้ ดังนี้
1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) คือ เข้าใจและเรียนรู้วิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ มีลำดับวิธีคิด ซึ่งนอกจากการเรียนการเขียนโปรแกรมแล้ว หัวใจที่สำคัญกว่า คือ สอนให้เราเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาได้
2. ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (digital technology) ทั้งเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในยุค 4.0 และเป็นทางเลือกในการบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้ด้วย
3. รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (media and information literacy) พูดง่าย ๆ คือ แยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนเป็นจริงหรือหลอกลวง รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ต่าง ๆ บนโลกไซเบอร์ เพื่อให้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ข้อมูลจาก https://www.dek-d.com/education/48514/

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.