องค์การโทรศัพท์ หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ที่มา
เพราะผมเองมีคนรู้จักอยู่ TOT ลำปาง หลายท่านเลย
ลูกศิษย์ก็พึ่งไปฝึกงานมาหมาด ๆ
เห็นแชร์ในเฟสด้วย ว่ามีความสุขที่ฝึกงานที่นี่
ทำให้สนใจ TOT เป็นพิเศษ
ดังนั้นได้ค้นข้อมูลมาแบ่งปันไว้ ดังนี้

ภาพโทรศัพท์ phone
ภาพโทรศัพท์ phone

https://www.facebook.com/english.jokes/

TOT เป็นรัฐวิสาหกิจ
ก่อตั้ง 24 กุมภาพันธ์ 2497 เป็น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
และแปลงสภาพเป็น บมจ.ทีโอที เมื่อ 31 กรกฎาคม 2545
ทำหน้าที่ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
http://www.tot.co.th/Corporate/

ประวัติของ TOT
– 2424 โทรศัพท์เข้าประเทศไทย สมัย ร.5 ดูแลโดยกรมกลาโหม ใช้แจ้งข่าวเรือเข้า-ออก
– 2429 โอนกิจการจาก กรมกลาโหม ไป กรมไปรษณีย์โทรเลข เปิดบริการมีผู้เช่าประมาณ 60 คน
– 2450 ตั้งชุมสายกึ่งอัตโนมัติ ที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ มีพนักงานต่อสายระหว่างผู้เช่า
– 2465 เพิ่มชุมสายโทรศัพท์แห่งที่สอง คือ โทรศัพท์กลางบางรัก รองรับ 900 เลขหมาย
– 2470 วางเคเบิลเชื่อมต่อวัดเลียบ-บางรัก เพิ่มเป็น 1422 เครื่อง
– 2471 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกล เชื่อม กทม. ธนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม
– 2478 เริ่มใช้ชุมสายระบบ Step by step อุปกรณ์จากอังกฤษ ทำให้หมุนหน้าปัดถึงกันโดยตรง
ได้ติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ 2300 เลขหมาย และโทรศัพท์กลางบางรัก 1200 เลขหมาย
เปิดบริการ 24 กันยายน 2480 และเพิ่มชุมสายเพลินจิต และชุมสายสามเสน
– 2480 ติดตั้งชุมสายอัตโนมัติครั้งแรก เปลี่ยนเป็นแบบหน้าปัดแบบหมุน ใช้เลข 5 ตัว หมุนถึงกันเองได้
– 2497 สถาปนาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม
เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2497 โดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์ กรมไปรษณีย์โทรเลข มีพนักกงาน 732 คน
– 2502 สั่งซื้อชุมสายอัตโนมัติระบบ Cross bar จากสวีเดน ที่ชุมสายชลบุรี 1000 เลขหมาย
– 2503 รับโอนโทรศัพท์ในส่วนภูมิภาคจากกรมโปรษณีย์โทรเลข
ครั้งแรก 10 ชุมสาย จำนวน 1600 เลขหมาย
ครั้งที่สอง 37 ชุมสาย จำนวน 8100 เลขหมาย
– 2507 ติดตั้งชุมสาย Cross bar ในกรุงเทพ
และรับโอนจากทุกภาคมาในความรับผิดชอบครอบคลุมบริการโทรศัพท์ทางไกลทั่วประเทศ
– 2517 เปลี่ยนเลขหมายเป็น 6 หลัก
– 2518 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้พนักงานต่อระหว่างเชียงใหม่-กรุงเทพ
เมื่อ 9.05 วันที่ 1 กันยายน 2518
– 2519 เมื่อ 24 เมษายน เปลี่ยนใช้เลขหมายโทรศัพท์ จาก 5 และ 6 ตัว เป็น 7 ตัวในนครหลวง
และในภูมิภาคเปลี่ยนเป็น 6 ตัวทั้งหมด
– 2520 เริ่มใช้เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่ม ในเขตนครหลวง
– 2521 ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย (Multi access radio telephone)
บริการในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสถานีฐานนั้น
– 2522 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะ แบบไม่มีผู้ดูแล
– 2523 เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทั่วประเทศ
– 2525 ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลอัตโนมัติ ในเขตโทรศัพท์นครหลวง เป็นครั้งแรก
– 2526 เปิดใช้ระบบ SPC (Stored program control) ที่ชุมสายภูเก็ต และบริการทางไกลไทย-มาเลเซีย
– 2527 ให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศระบบอัตโนมัติ สำหรับผู้เช่าในเขตกรุงเทพฯ
– 2529 เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (Nordic mobile telephone) 470 MHz
– 2530 เปิดให้ผู้เช่าสามารถซื้อเครื่องโทรศัพท์ได้เอง
– 2531 เปิดบริการพิเศษ SPC อาทิ ประชุมทางโทรศัพท์ บริการเลขหมายย่อ บริการรับสายซ้อน
และเปิดวงจรเคเบิลใต้น้ำเชื่อมต่อไทย-มาเลเซีย
– 2532 เชื่อมเครือข่ายด้วยเคเบิลใยแก้ว และไมโครเวฟ
– 2533 เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบความถี่ 900 MHz และอีกหลายรูปแบบ
– 2534 เปิดสัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (Cardphone) ในเขตนครหลวง
– 2535 เปิดบริการวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ (Trunk mobile radio)
– 2536 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ
– 2537 ทดลองเปิดบริการ วิดีสาร (Videotex)
– 2538 ให้บริการชำระค่าบริการ โดยหักบัญชีเงินฝากทั่วประเทศ
– 2539 เมื่อ 22 เมษายน เปิดให้บริการโทรศัพท์รหัสส่วนตัว Pin phone 108 ในเขตนครหลวง
– 2540 เปลี่ยนจากระบบ Cross bar ที่เหลือเป็นแบบ SPC (แบบกดปุ่ม) ทั้งหมด
– 2541 เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT Card
มีรายละเอียการพัฒนาในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง ไปหาอ่านกันได้ครับ
http://www.tot.co.th/Corporate/HISTORY.ASPX

ที่บ้านก็ใช้ ADSL ของ TOT
เคยเขียน blog ไว้หลายเรื่องเลย อาทิ
– router:ZTE ที่ TOT ให้ตอนติด FTTx
– เล่าปัญหาลืมรหัสผ่าน adsl router ของ tot
– ทดสอบหลังใช้ @platinumcyber
– ทดสอบ bestcyber ก่อนใช้ platinumcyber
– TOT Wi-Ti ที่ Central Plaza Lampang
http://www.thaiall.com/blog/tag/tot/

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.