การเรียนรู้ กับการคิดทั้ง 4 แบบต่างกันอย่างไร

เคยฟัง คุณภัทรา มาน้อย ที่มาพูดเมื่อศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559
ตามคำเชิญของ อ.วิเชพ ใจบุญ ให้มาพูดคุยกับนักศึกษาที่ห้อง 1203
เน้นเรื่องการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ช่วยจัดการความคิด
และเล่าเพิ่มเติมว่า ทักษะการคิดที่สำคัญมี 4 การคิด (Thinking)
1. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking)
2. การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis thinking)
3. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking)
4. การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153971781483895&set=a.10153889333078895.1073741891.814248894

การปฏิเสธการเรียนรู้เกิดขึ้นได้กับเด็ก ๆ
การแก้ไขนั้น คุณหมอสินดีแนะนำให้ดูว่าเขามีอาการอย่างไร
แล้วแก้ไขไปตามอาการ ถ้ามีความอยากเรียนรู้เกิดขึ้นแล้ว
ค่อยชวนเด็ก ๆ คิดกันต่อไป
ส่วนจะคิดแบบใด คงต้องวางแผนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

เมื่อไปค้นผ่าน google.com หานิยามศัพท์ของการคิดก็พบว่า
1.  การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking)
หมายถึง ความตั้งใจแยกแยะ เพื่อหาองค์ประกอบย่อยของเหตุการณ์ เรื่องราว เนื้อหาหรือประเด็น
หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล หรือหาสภาพความเป็นจริงของสิ่งนั้น
อ้างอิงจาก http://tishafan-analysisthinking.blogspot.com/

2 การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis thinking)
หมายถึง ความตั้งใจดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาหลอมรวมหรือถักทอภายใต้โครงร่างใหม่
อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นมิติการคิดที่ต้องออกแรง
ทั้งในด้านการค้นคว้า รวมรวมข้อมูล อาจมีจำนวนมาก และกระจัดกระจาย
โดยคัดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวโยงกับเรื่องที่คิด แล้วนำเข้าเตาหลอมรวมแนวคิด
ให้อยู่ภายใต้ตัวแบบโครงร่างเดียวกันที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์
อ้างอิงจาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/synthesis-thinking.htm

3. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking)
หมายถึง ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
โดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม
เป็นการตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งสมมติฐานที่อยู่เบื้องหลัง
พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆ มากขึ้น
ให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม
อ้างอิงจาก https://www.gotoknow.org/posts/386825

4. การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)
หมายถึง ความตั้งใจมองหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ขยายขอบเขตความคิด
ออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
เพื่อค้นหาคําตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และแตกต่างไปจากเดิม
เป็นความคิดที่ไม่เคยมีมาก่อน (New Original)
ใช้การได้ (Workable) และมีความเหมาะสม (Appropriate)
ที่เรียกว่า “นวัตกรรม” (Innovation)
อ้างอิงจาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Creative_Thinking.htm

การเรียนรู้ (Learning)
หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อม
กระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
อ้างอิงจาก https://sites.google.com/site/giftindependent/hlak-kar/hlak-kar-reiyn-ru

learning denied
learning denied

กรณีไม่อยากเรียนรู้
คุณหมอสินดีแนะนำในทำนองว่า ให้สังเกตอาการว่ามีปัญหาอะไร ก็ต้องแก้ไขไปตามอาการ
อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000002935

คุณภัทรา มาน้อย ยังได้จัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติการให้นักศึกษา
ได้ใช้ สมองสองซีก และอธิบายความแตกต่างของชายหญิง
ว่าการคิดถือเป็นการใช้สมองของมนุษย์ทั้งซีกขวา และซีกซ้ายได้อย่างสมดุล
ซีกขวา – เน้นจินตนาการ ศิลปะ และดนตรี
ซีกซ้าย – เน้นการมีเหตุผล และการคำนวณ

อ้างอิงจาก http://www.kiddeetumdee.net/book/book_19.html

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.