ค้นหา ทูน่าโมเดล ที่เป็นเรื่อง KM ไม่ใช่ปลาทู

tuna model
tuna model

ค้นหาคำว่า “โมเดลทูน่า” “ทูน่าโมเดล” “ตัวแบบทูน่า
โมเดลปลาทู” “ปลาทูโมเดล” “ตัวแบบปลาทู
โดยกำหนดการค้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ในทุกเขตข้อมูล ทุกมหาวิทยาลัย และทุกเอกสาร
จากฐานข้อมูล thailis (Thai Library Integrated System)
พบเอกสารของ ณัฐพล สมบูรณ์

Title ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
Title Alternative An information technology knowledge management system : a case study of the permanent secretary of ministry of finance office
Creator Name: ณัฐพล สมบูรณ์
Subject ThaSH: การบริหารองค์ความรู้ฐานข้อมูล
ThaSH: ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
ThaSH: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
Description Abstract: ปัญหาพิเศษฉบับนี้ได้นำเสนอ ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสร้างระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application) ขึ้นมาใช้งานภายในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อรองรับในส่วนของการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ให้อยู่ในรูป แบบเว็บไซต์เพื่อให้ง่าย ในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อศึกษาหาความรู้ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา ข้อผิดพลาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยใช้โมเดลปลาทูในการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาบทเรียนต่าง ๆ บททดสอบ และบทความด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่ทันสมัยอยู่เสมอ จากการประเมินระบบทาการประเมินจากกลุ่มผู้ใช้งานในสำนักงานปลัดกระทรวงการ คลังโดยแบ่งเป็นการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานจำนวน 30 คน ซึ่งผลของการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23) และผลของการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
Abstract: This paper proposes a web application for the Permanent Secretary of Ministry of Finance Office (MOF) to support the existing information management. This system is in the form of a website aimed to facilitate the MOF’s office and enhance their knowledge effectively. Moreover, this system also provides a way to exchange information and help solve problem on one’s own with the ability to continually update. Tools used in the development of the system included the Tuna Model which consists of lesson, examination, and an information technology column. The evaluation of the system’s performance was conducted by experts and general users. The Average Mean and Standard Deviation of results from experts were 4.46 and 0.23. The Average Mean and Standard Deviation of results from general users were 3.89 and 0.86. In summary, the result of the evaluation indicates that the satisfaction of the developed system is relatively high and achieved all goals.
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง

http://tdc.thailis.or.th/tdc/

ค้นจาก google.com
พบเรื่อง การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ก็พบวรรณกรรมที่น่าสนใจ
http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5101034.pdf

ตัวแบบทูน่า (Tuna Model) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้
โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้
1. ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision – KV)
คือ ส่วนที่มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
2. ส่วนกลางลำตัว (Knoledge Sharing – KS)
คือ ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน
3. ส่วนหาง (Knowledge Assets – KA)
คือ ส่วนสร้างคลังความรู้ เชื่อโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ “สะบัดหาง” สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ

ดร.ประพนธ์  ผาสุกยืด (2550 : 21-26)
ส่วนที่ 1 ส่วนหัว เรียกว่า “KV” (Knowledge Vision)
หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้
ส่วนที่ 2 ส่วนตัว เรียกว่า “KS” (Knowledge Sharing)
ซึ่งเป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM
ส่วนที่ 3 ส่วนหางปลา เรียกว่า “KA” (Knowledge Assets)
หมายถึง ตัวเนื้อความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้”
http://aikik.blogspot.com/2011/01/model-knowledge-mangement.html
http://group.wunjun.com/valrom2012/topic/362655-11237

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในประเทศไทย ได้พัฒนา “ตัวแบบทูน่า” เป็น “ตัวแบบปลาตะเพียน”
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.