อุปสรรคของการพัฒนาคณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

3 ก.ย.52 นางขนิษฐา ทรงจักรแก้ว ส่งแบบสอบถามชุดที่ 1 เรื่อง แนวความคิดต่อสาเหตุที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนา คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ท่านเป็นนิสิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในแบบสอบถามชุดนี้ถามถึง แนวคิด ทัศนะ หรือมโนทัศน์เกี่ยวกับ สาเหตุที่เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาคณาจารย์ ที่เกิดจากตัวอาจารย์ และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ผมก็ให้ทัศนะตามคำถามนำเรื่องอุปสรรค์ต่อการพัฒนาคณาจารย์ ไปว่า  1)ค่านิยมที่ไม่มีความทะเยอทะยานของมนุษย์ในการไม่วางแผน บั้นปลายของชีวิตให้ชัดเจน ยังกิน ยังดื่ม ยังเสพ อย่างไม่สมเหตุ สมผล 2)ค่านิยมที่ต้องการสิ่งจูงใจสูงมากกว่าการกระทำ ด้วยพื้นฐานของ กิเลสที่เรียกว่าความโลภ และความไม่รู้จักพอประมาณ ทำให้มนุษย์ มองประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม 3)ค่านิยมขาดอุดมการณ์ในสายอาชีพ หรือขาดศรัทธาในการทำดีตามสายอาชีพอย่างมุ่งมั่น 4)สถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องหาเลี้ยงตนเอง ไม่มีเงินอุดหนุนรายหัว จึงต้องใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ตามแผน และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 5)สถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผลตามบริบทของการเป็นเอกชน
     เอกสารแนบของท่านให้คำนิยามศัพท์มา 6 คำ คือ 1)การพัฒนาคณาจารย์ หมายถึง การดำเนินการหรือการสนับสนุน ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านการกำหนดเป้าหมาย แผนงาน นโยบาย ระบบและกลไกการบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากร บุคคล การพัฒนาสภาพแวดล้อมอุดมศึกษา หรือกิจกรรมใด ๆ ทั้งที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่จะเอื้ออำนวยหรือสร้างเสริมให้ คณาจารย์มีการเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิด ค่านิยม พฤติกรรม ใน การพัฒนาศักยภาพตนเอง การพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาผลผลิตบัณฑิต การพัฒนาผลผลิตงานวิจัย และการพัฒนาผลผลิตงานวิชาการ ให้ไปสู่ความมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศในระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษา 2)การพัฒนาศักยภาพตนเองของคณาจารย์ หมายถึง ผลของการพัฒนาคณาจารย์ของสถาบัน ซึ่งส่งผลให้คณาจารย์มีความประสงค์ และมุ่งหน้าดำเนินการศึกษาต่อในระดับคุณวุฒิที่สูงขึ้น รวมทั้งการสร้างผลงานทางวิชาการที่สามารถทำให้คณาจารย์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นเป็นลำดับ 3)การพัฒนาการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการพัฒนาคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งส่งผลให้คณาจารย์พัฒนาความสามารถจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจของผู้เรียน โดยใช้เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และอุปกรณ์การสอนหลากหลายมีการประเมินผลการเรียนการสอนตามสภาพจริง และใช้ผลการประเมินในการพัฒนาผู้เรียน 4)การพัฒนาผลผลิตบัณฑิต หมายถึง ผลการพัฒนาคณาจารย์ของสถาบันฯ ซึ่งส่งผลให้คณาจารย์พัฒนาความสามารถในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะและภูมิปัญญาในงานอาชีพ มีจิตสำนึก และภูมิธรรมในฐานะพลเมืองดีของสังคมไทย และสังคมโลก 5)การพัฒนาผลงานวิจัย หมายถึง ผลของการพัฒนาคณาจารย์ของสถาบันฯ ซึ่งส่งผลให้คณาจารย์พัฒนาความสามารถในการผลิตงาน วิจัย และงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพสูง ได้รับทุนวิจัย สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 6)การพัฒนาผลงานบริการวิชาการ หมายถึง ผลของการพัฒนาคณาจารย์ของสถาบันฯ ซึ่งส่งผลให้คณาจารย์พัฒนาความสามารถในการผลิตงานบริการวิชาการและวิชาชีพที่เป็นประโยชน์เป็นที่พึ่งและเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการและวิชาชีพ เสริมสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ และนานาชาติ
+ เป็นเรื่องดี ๆ ที่ผ่านมาในชีวิต จึงบันทึกไว้ครับ

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.